Page 15 - วารสารสุขภาพ สำนักอนามัย ปีที่ 6 ฉบับที่ 1
P. 15

สุขสนุก - เป็นความสามารถในการเลือกวิถีชีวิตที่รื่นรมย์สนุกสนาน ท�ากิจกรรมที่ก่อให้เกิดอารมณ์

           เป็นสุข  สดชื่น  มีคุณภาพชีวิตที่ดี  ลดความเครียด  กังวล  เศร้า  โดยท�ากิจกรรมในเวลาว่างด้วยความสมัครใจ
           เป็นกิจกรรมเดี่ยวหรือรวมกลุ่ม  ส�าหรับผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคมและกลุ่มติดบ้าน  กิจกรรมอาจแสดงออกในรูปแบบ
           กีฬา ดนตรี ศิลปะ งานอดิเรก ส่วนกลุ่มติดเตียง การท�ากิจกรรมเพื่อให้สามารถปรับตัว สร้างพลัง ความมีชีวิตชีวา
           รูปแบบ  อาจเป็นกิจกรรมนันทนาการ  เพื่อให้เกิดอารมณ์เป็นสุข  สนุกสนาน

           การออกก�าลังกายที่เหมาะสมกับสภาพร่างกาย เป็นต้น
                  สุขสง่า - เป็นความพึงพอใจชีวิต ภาคภูมิใจ เชื่อมั่น เห็นคุณค่า

           ในตนเอง มีส่วนร่วมในการช่วยเหลือผู้อื่นในสังคม เกิดมุมมองการใช้ชีวิต
           เชิงบวก เช่น การมีจิตอาสา ส�าหรับผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านและติดเตียง
           กิจกรรมที่ท�าให้เกิดสุข ท�าเพื่อความมีคุณค่าในตนเอง ไม่ซึมเศร้า

           ท้อแท้ เป็นการน�าความรู้และประสบการณ์ในอดีต มาใช้ให้เกิด
           ประโยชน์ เพื่อให้เกิดความรู้สึกในแง่ดีต่อตนเองและผู้อื่น รู้จัก
           เห็นอกเห็นใจผู้อื่น

                  สุขสว่าง - เป็นความสามารถของผู้สูงอายุด้านความจ�า
           ความคิดอย่างมีเหตุมีผล สื่อสาร วางแผน แก้ไขปัญหาและจัดการกับสิ่งต่างๆ

           ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การมีกิจกรรมของผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคม เพื่อความสุขสว่าง
           เป็นกิจกรรมที่น�าความรู้ในอดีตมาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ผู้อื่น และเพื่อให้มีความสามารถทางสังคม สร้างปฏิสัมพันธ์
           อย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนกลุ่มติดเตียงเป็นกิจกรรมที่ชะลอความเสี่ยงของสมอง เน้นการรับรู้ การเคลื่อนไหว
           ความจ�า

                  สุขสงบ - เป็นความสามารถในการรับรู้ เข้าใจ ความรู้สึก ควบคุมอารมณ์ จัดการกับอารมณ์ที่เกิดขึ้นได้

           ยอมรับสภาพที่เป็นจริง เพื่อให้เกิดความสุขสงบขึ้นกับตนเอง โดยเฉพาะในผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียง ควรดูแลจัดการ
           กับความรู้สึกด้านลบที่เกิดขึ้น เพื่อให้ตระหนักรู้เข้าใจอารมณ์ของตนเองตามความเป็นจริง เพื่อป้องกันโรคซึมเศร้า
           และการท�าร้ายตนเอง



                    การส่งเสริมให้ลูกหลาน ผู้ดูแล หรือผู้สูงอายุเองได้ดูแลรักษา
              สุขภาพกายและใจของผู้สูงอายุด้วยหลัก 5 สุข เป็นการเตรียมตัว

              ที่ดีที่จะท�าให้ผู้สูงอายุมีความแข็งแรงทางร่างกายและมีความเข้มแข็ง
              ทางใจ เป็นพลังร่วมสร้างสรรค์สังคมเตรียมพร้อมที่จะอยู่ร่วมกับ
              ครอบครัว และสังคมได้อย่างมีความสุข








           รายการอ้างอิง
                  ส�านักพัฒนาสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือ “ความสุข 5 มิติ” ส�าหรับผู้สูงอายุ. พิมพ์ครั้งที่ 2
                  โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จ�ากัด; มีนาคม 2556.

                                                                                      วารสารสุขภาพ    15
                                                                                        ส�านักอนามัย
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20