Page 13 - วารสารสุขภาพ สำนักอนามัย ปีที่ 6 ฉบับที่ 1
P. 13
ผู้ดูแลเป็นบุคคลที่มีบทบาทส�าคัญที่สุดในการดูแลผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์เพราะถือว่าเป็น
งานที่ยาก เนื่องจากต้องช่วยดูแลไม่ให้ผู้ป่วยมีอาการเพิ่มขึ้นและยังต้องต่อสู้กับอารมณ์ของตนเอง
ไม่ให้โกรธ เศร้าหมอง หดหู่ หรือท้อแท้ ศูนย์บริการสาธารณสุข 66 ต�าหนักพระแม่กวนอิม โชคชัย 4
ส�านักอนามัย กรุงเทพมหานคร ได้มีโอกาสเข้าไปเยี่ยมบ้านครอบครัวหนึ่งซึ่งมีคุณตาเป็นผู้ป่วยติดเตียง
เนื่องจากเส้นเลือดสมองแตกและโรคอัลไซเมอร์ ส่วนคุณยาย ป่วยด้วยโรคอัลไซเมอร์ และโรคอารมณ์
แปรปรวนสองขั้ว โดยญาติมีความวิตกกังวลต่ออาการและการดูแลผู้ป่วยทั้งสองอย่างเห็นได้ชัด
ศูนย์บริการสาธารณสุข 66 ได้มีการสร้าง
สัมพันธภาพกับผู้ป่วย และญาติ ตลอดจนให้ค�าแนะน�า
ในการดูแลผู้ป่วย ซึ่งมีการจัดเตียงนอนของคุณตา
คุณยายให้อยู่ติดกัน และกระตุ้นให้คุณตากับคุณยาย
ได้พูดคุยกัน ไม่มีใครทราบว่าคุณยายรับรู้เรื่องราว
ที่คุณตาพูดคุยด้วยหรือไม่ แม้ว่าจะไม่มีการโต้ตอบใดๆ
ออกมาแต่ก็มีรอยยิ้มแห่งความสุขของคุณยาย
ปรากฏอยู่บนใบหน้าเสมอ
นอกจากนี้ ได้ให้ค�าปรึกษาแนะน�าในเรื่องการท�าความเข้าใจภาวะสมองเสื่อม โดยยึดหลัก
การใช้ความไม่โกรธ หรือโมโห ซึ่งผู้ดูแลไม่ควรบังคับให้ผู้ป่วยจ�า หรือท�าในสิ่งที่ไม่คุ้นเคยยึดหลัก
ความยืดหยุ่น ปรับตัว ยอมรับการเปลี่ยนแปลงและลดความคาดหวังในตัวผู้ป่วยลง ดูแลการพักผ่อน
การท�ากิจกรรม และจัดอาหารที่เหมาะสมและการรับประทานอาหารให้เป็นเวลาการกระตุ้น
การเคลื่อนไหวและการออกก�าลังกายจัดสภาพแวดล้อมให้เรียบร้อย ไม่ปรับเปลี่ยนสภาพห้องบ่อยๆ
เพราะจะท�าให้ผู้ป่วยสับสนได้ง่าย พยายามหลีกเลี่ยงไม่ให้มีเสียงดังเนื่องจากจะเป็นการกระตุ้นให้
ผู้ป่วยกลัว และตกใจได้ สิ่งส�าคัญที่สุด คือ การใช้ความรัก ความกตัญญู และความเข้าใจ จะเป็น
สิ่งที่ช่วยให้ผู้ดูแลสามารถดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การลงพื้นที่เยี่ยมบ้าน เพื่อให้การพยาบาลให้ค�าปรึกษาแนะน�าให้ผู้ดูแลได้เรียนรู้เข้าใจ
ถึงอาการของโรค และทราบถึงการดูแลผู้ป่วยที่ถูกวิธี จึงเป็นสิ่งที่มีประโยชน์อย่างยิ่ง ซึ่งจะส่งผล
ให้ผู้ป่วยไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างความมั่นใจในการดูแลผู้ป่วยให้กับผู้ดูแล
และช่วยผ่อนคลายความเครียดของผู้ดูแลอีกด้วย
วารสารสุขภาพ 13
ส�านักอนามัย