Page 115 - Annual Report 2552
P. 115
(2) เงินที่ได้จากการกู้ให้นำาไปใช้จ่ายตามวัตถุประสงค์ในการกู้ โดยไม่ต้องนำาส่งคลัง เว้นแต่คณะรัฐมนตรี
จะมีมติให้สมทบเป็นเงินคงคลัง นอกจากนี้ กระทรวงการคลังอาจนำาเงินกู้ดังกล่าวไปให้กู้ต่อแก่หน่วยงานของรัฐ
หน่วยงานในกำากับดูแลของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ หรือสถาบันการเงินภาครัฐ เพื่อใช้จ่าย
หรือลงทุนเพื่อฟื้นฟูหรือเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจได้
(3) ให้กระทรวงการคลังรายงานการกู้เงินตามพระราชกำาหนดนี้ให้รัฐสภาทราบภายใน 60 วัน นับแต่วันสิ้นปี
งบประมาณ โดยรายงานดังกล่าวอย่างน้อยต้องระบุรายละเอียดของการกู้เงิน วัตถุประสงค์ของการใช้จ่ายเงินกู้
รวมถึงผลสัมฤทธิ์และประโยชน์ที่ได้รับหรือคาดว่าจะได้รับ
(4) เมื่อหนี้เงินกู้ตามพระราชกำาหนดนี้ถึงกำาหนดชำาระ กระทรวงการคลังมีอำานาจกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้
ดังกล่าวได้ และจะกู้ได้ไม่เกินจำานวนเงินกู้ที่ยังค้างชำาระ โดยการกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ดังกล่าวนี้มิให้นับรวม
ในวงเงิน 400,000 ล้านบาท
(5) หากหนี้ที่จะปรับโครงสร้างหนี้มีจำานวนมากและไม่อาจกู้เงินภายในคราวเดียวกันได้ กระทรวงการคลัง
อาจทยอยกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้สาธารณะเป็นการล่วงหน้าได้ไม่เกิน 12 เดือน ก่อนวันที่หนี้ถึงกำาหนดชำาระ
และให้นำาส่งเข้ากองทุนบริหารเงินกู้เพื่อการปรับโครงสร้างหนี้สาธารณะและพัฒนาตลาดตราสารหนี้ในประเทศ
เพื่อทำาหน้าที่บริหารเงินกู้ดังกล่าว
(6) นอกจากกรณีที่ได้กำาหนดไว้แล้วในพระราชกำาหนดนี้ ให้นำากฎหมายว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะ
มาใช้บังคับโดยอนุโลม
อนึ่ง จากบทบัญญัติข้างต้น ในพระราชกำาหนดไม่ได้บัญญัติขั้นตอนการกู้เงินไว้เป็นการเฉพาะจึงต้อง
นำากฎหมายว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะมาบังคับใช้โดยอนุโลม ดังนั้น กระบวนการในการดำาเนินขั้นตอน
การกู้เงินตามพระราชกำาหนดจึงอยู่ภายใต้พระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 และที่แก้ไข
เพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ประกอบกับระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2549
ดังเช่นกระบวนการกู้เงินในกรณีทั่วไป กล่าวคือการกู้เงินนั้นต้องถูกบรรจุอยู่ในแผนการบริหารหนี้สาธารณะประจำาปี
งบประมาณ และนำาเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติก่อนดำาเนินการ
2. หลักเกณฑ์การใช้จ่ายเงินกู้ตามพระราชกำาหนดกำาหนดให้อำานาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้าง
ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ พ.ศ. 2552
การใช้จ่ายเงินกู้ตามพระราชกำาหนดฯ นั้น เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการกู้เงิน ซึ่งในกรณีนี้สามารถแยก
พิจารณาได้เป็น 2 กรณี ดังนี้
2.1 หลักเกณฑ์การใช้จ่ายเงินกู้เพื่อสมทบเงินคงคลัง
การกู้เงินเพื่อนำาสมทบเงินคงคลัง เงินกู้นั้นต้องนำาส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดินและถือเป็นเงินงบประมาณ
ดังนั้นการใช้จ่ายเงินต้องอยู่ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำาปีงบประมาณ และตาม
พระราชบัญญัติเงินคงคลัง พ.ศ. 2491
2.2 หลักเกณฑ์การใช้จ่ายเงินกู้ตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555
ระเบียบสำานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารโครงการตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 พ.ศ. 2552
ได้กำาหนดหลักเกณฑ์ในการใช้จ่ายเงินกู้ตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็งไว้โดยเฉพาะ ซึ่งในระเบียบดังกล่าว
114 รายงานประจำาปี 2552 ANNUAL REPORT 2009