Page 120 - Annual Report 2552
P. 120

PDMO         PUBLIC DEBT

                                                                                                     MANAGEMENT
                                                                                                     OFFICE






                           ช่วงพัฒนา
                            ในช่วงปี พ.ศ. 2525-2535 ประเทศต่างๆ ในทวีปยุโรป ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศที่มีอัตราการขยายตัว

            ของเงินเฟ้อที่ต่ำา เริ่มดำาเนินการออก ILB ด้วยเหตุผลที่ต่างออกไป การออก ILB ในทวีปยุโรป มีวัตถุประสงค์
            เพื่อพัฒนาตลาดตราสารหนี้ในประเทศ และเพิ่มทางเลือกในการระดมทุนของภาครัฐ รวมถึงขยายฐานนักลงทุน

            โดยในปี พ.ศ. 2524 ประเทศแรกที่เริ่มพัฒนาให้ ILB เป็นทางเลือกในการระดมทุนหลักอีกเครื่องมือหนึ่ง ได้แก่
            สหราชอาณาจักร อย่างไรก็ตาม รูปแบบที่ใช้ในขณะนั้นยังไม่ใช่ลักษณะที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน

                             ช่วงที่ได้รับความนิยมสูงสุด
                             ในปี พ.ศ. 2540 ประเทศสหรัฐอเมริกาได้ดำาเนินการออก ILB เป็นครั้งแรก โดยใช้ชื่อเรียก

            ว่า Treasury Inflation Protected Security (TIPS) และได้ดำาเนินการออกอยู่เป็นประจำา (ปัจจุบันสหรัฐอเมริกา
            นับเป็นประเทศที่ออก ILB ที่มียอดคงค้างที่มากที่สุดในโลก) จากนั้นในปี พ.ศ. 2541 ประเทศฝรั่งเศส ได้เริ่มออก

            ILB ในสกุลเงินฟรังค์ฝรั่งเศส และเริ่มออกในสกุลเงินยูโรในปี พ.ศ. 2545 สำาหรับประเทศในทวีปเอเชีย ประเทศแรก
            ที่ได้ดำาเนินการออก ILB ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อปี พ.ศ. 2547



                  3.   รูปแบบของ ILB

                    รูปแบบการออก ILB มี 3 รูปแบบ คือ
                    1) Capital Indexed Bond (CIB)

                      ILB ประเภท CIB จะกำาหนดอัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว (Coupon Rate) ในอัตราคงที่เท่ากับอัตราดอกเบี้ย
            ที่แท้จริงโดยจะจ่ายดอกเบี้ยแต่ละงวดเท่ากับอัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋วคูณด้วยเงินต้นที่ปรับตามดัชนีเงินเฟ้อ

            และในวันครบกำาหนดไถ่ถอนจะจ่ายเงินให้แก่ผู้ถือครองพันธบัตร แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ 1) ส่วนของดอกเบี้ย
            ดังที่กล่าวข้างต้น 2) เงินต้น ณ ราคาหน้าตั๋ว (par) และ 3) ส่วนต่างของเงินต้นที่ปรับตามดัชนีเงินเฟ้อลบด้วย

            เงินต้น ณ ราคาหน้าตั๋ว ตารางที่ 2 แสดงให้เห็นถึงกระแสเงินสดของ CIB อายุ 10 ปี ที่มีสมมติฐานว่า
            Coupon Rate เท่ากับ ร้อยละ 1 ต่อปี เงินต้นเท่ากับ 100 บาท ซึ่งจะเห็นได้ว่า จำานวนดอกเบี้ยที่จ่ายในแต่ละงวด

            จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แม้ว่า Coupon Rate จะคงที่เท่ากับ 1 เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อปรับเพิ่มขึ้น และในวันครบกำาหนด
            ไถ่ถอนในปีที่ 10 จะจ่ายดอกเบี้ยจำานวน 1.33 บาท เงินต้น 100 บาท และส่วนชดเชยเงินเฟ้อ 33 บาท





























                                                                           รายงานประจำาปี 2552 ANNUAL REPORT 2009  119
   115   116   117   118   119   120   121   122   123   124   125