Page 118 - Annual Report 2552
P. 118

PDMO         PUBLIC DEBT

                                                                                                     MANAGEMENT
                                                                                                     OFFICE








            พัฒนาเคร� องมือการระดมทุน : Inflation Linked Bond



                                                                                      น�ยนครินทร์ พร้อมพัฒน์
                                                                                            น�ยช�คริต โพธิสุข

                                                                                   สำ�นักพัฒน�ตล�ดตร�ส�รหนี้



                  ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 ที่ผ่านมา สำานักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ได้ริเริ่มดำาเนินการพัฒนา
            ตลาดตราสารหนี้ในประเทศอย่างเป็นระบบเพื่อให้สามารถรองรับความต้องการระดมทุนของภาครัฐและเอกชน

            ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การออกพันธบัตร Benchmark Bond อย่างสม่ำาเสมอ เพื่อสร้างอัตรา
            ดอกเบี้ยอ้างอิง ซึ่งได้รับการตอบรับจากนักลงทุนอย่างดียิ่ง ทำาให้ตลาดตราสารหนี้ในประเทศสามารถรองรับ

            การระดมทุนที่เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลของรัฐบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                  ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 สบน. มีแนวทางการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ในประเทศในเชิงลึกอย่าง

            ต่อเนื่องต่อไปเพื่อให้สามารถรองรับความผันผวนของสภาวะเศรษฐกิจ และตลาดการเงินโลก โดยเพิ่ม
            ความหลากหลายของผลิตภัณฑ์เพื่อเป็นทางเลือกให้กับนักลงทุน และสามารถเป็นแหล่งระดมทุนในประเทศที่ยั่งยืน

            และมีความทนทานต่อความผันผวนของอัตราดอกเบี้ยและเงินเฟ้อ สบน. ได้ดำาเนินการศึกษาการออกพันธบัตร
            ที่มีผลตอบแทนอ้างอิงกับอัตราเงินเฟ้อ (Inflation Linked Bond : ILB) เพื่อให้สามารถเป็นทางเลือกใน

            การลงทุนของนักลงทุนกลุ่มต่างๆ รวมทั้งยังมีความสอดคล้องกับภาวะผันผวนของอัตราเงินเฟ้อในปัจจุบัน ซึ่งมี
            การประมาณการการขยายตัวของอัตราเงินเฟ้อที่ร้อยละ 3.4 ในปี 2553 จากที่ติดลบร้อยละ 0.9 ในปี 2552

            ที่ผ่านมา
                  บทความนี้จะกล่าวถึง ILB  เป็น 2  ส่วน  คือ  วัตถุประสงค์และการพัฒนา ILB  ในต่างประเทศ  รูปแบบ

            ของ ILB ซึ่งเป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ในส่วนที่ 2 จะเป็นการเชื่อมโยงแนวปฏิบัติในต่างประเทศเพื่อ
            เสนอแนะรูปแบบการออก  ILB ที่เหมาะสมกับประเทศไทย โดยคำานึงถึงดัชนีชี้วัดเงินเฟ้อที่ใช้อ้างอิงความต้องการของ

            ตลาดรวมไปถึงข้อควรพิจารณาต่างๆ ในการออก ILB เป็นครั้งแรกในประเทศไทย

                  1. Inflation Linked Bond คืออะไร

                     ILB  คือ  พันธบัตรที่มีผลตอบแทนแปรผันตามอัตราการเปลี่ยนแปลงของเงินเฟ้อ  มีหลักการพื้นฐาน
            จากทฤษฎีดอกเบี้ยของศาสตราจารย์ Irving Fisher ซึ่งกำาหนดความสัมพันธ์ระหว่างอัตราดอกเบี้ยทั่วไป (Nominal

            Rate) กับอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (Real Rate) และอัตราเงินเฟ้อ (Inflation Premium) โดยมีรูปแบบสมการระบุ
            ไว้ ดังนี้

                                 (1+Nominal Rate)  =  (1+Real Rate) × (1+Inflation Premium)



                     ในการกำาหนดอัตราดอกเบี้ยของ ILB ผู้ออกจะกำาหนดให้ผู้ลงทุนได้รับผลตอบแทนในอัตราคงที่เหนือ
            อัตราเงินเฟ้อในแต่ละช่วงเวลา ซึ่งผลตอบแทนในส่วนแรกคือ อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง เป็นอัตราคงที่ และส่วนที่

            สองคือ ส่วนชดเชยเงินเฟ้อ ซึ่งจะผันแปรตามเงินเฟ้อในแต่ละช่วงเวลา



                                                                           รายงานประจำาปี 2552 ANNUAL REPORT 2009  117
   113   114   115   116   117   118   119   120   121   122   123