Page 110 - ทักษะการเรียนรู้ (ทร21001) ม.ต้น
P. 110

102



                  ของเครื่องปรุง  ท าให้สีกล้วยฉาบสวยเป็นธรรมชาติ  มีความกรอบและมีรสชาติที่กลมกล่อมเนื่องจากมี

                  ความเปรี้ยวอยู่ในตัว ท าให้ได้สูตรในการท ากล้วยฉาบเฉพาะกลุ่ม จากนั้นสมาชิกกลุ่มสตรีได้รวมตัวกัน
                  9 คน ลงหุ้นกันคนละ 200 บาท เมื่อปี 2544 จัดตั้งกลุ่มเพื่อผลิตกล้วยฉาบขาย และได้น ากล้วยฉาบไป

                  เสนอ ขายให้คนที่รู้จักและเจ้าหน้าที่จากส่วนราชการต่าง ๆ ซึ่งทุกคนมองว่า “รสชาติก็คงเหมือนกล้วย

                  ฉาบธรรมดา” แต่เมื่อทดลองชิมแล้วจึงเห็นถึงความแตกต่างระหว่างรสชาติของกล้วยฉาบ จากกล้วยน ้าว้า
                  กับกล้วยฉาบจากกล้วยหอมทอง จึงให้ความสนใจสั่งซื้อมากขึ้น และรู้จักในนาม “กล้วยยัดเยียด” ซึ่งเป็น

                  ที่มาของการน าไปเสนอขายด้วยการขอร้องกึ่งบังคับให้คนซื้อนั่นเอง

                          ต่อมาส่วนราชการในอ าเภอได้ให้การสนับสนุนมากขึ้น  เสนอให้มีการท าป้ ายผลิตภัณฑ์ใหม่

                  และให้เปลี่ยนชื่อเป็น “กล้วยหอมทองเมืองจุน” แต่เมื่อน าไปขายแล้วไม่มีคนรู้จักและไม่แน่ใจในคุณภาพ
                  ของสินค้า จึงขายได้ไม่ดี ท าให้ต้องกลับมาใช้ชื่อเหมือนเดิมว่า “กล้วยหอมทองยัดเยียด” จนถึงปัจจุบัน

                          ในการบริหารจัดการของกลุ่ม  ได้มีการแบ่งหน้าที่สมาชิกกลุ่มให้รับผิดชอบเป็นฝ่ายต่าง  ๆ

                  ประกอบด้วย  ประธานกลุ่ม  กรรมการฝ่ายต่าง  ๆ  ฝ่ายการตลาด  ฝ่ายผลิต  ฝ่ายการ  เงินบัญชี  และมี

                  เลขานุการกลุ่ม มีสมาชิกเพิ่มขึ้นเป็น 20 คน  มีการลงหุ้นเพิ่มและมีเงินทุนหมุนเวียนให้สมาชิกกลุ่มได้
                  กู้ยืม กลุ่มได้สร้างงานให้กับคนในชุมชนนั่นคือส่งเสริมให้ปลูกกล้วยขายให้กับกลุ่ม และเมื่อมีกล้วยเข้า

                  มาเป็นจ านวนมาก  จะจ้างแรงงานจากคนในชุมชนมาปอกกล้วยเพื่อทอดไว้  และจะฉาบเมื่อมีลูกค้าสั่ง

                  สินค้าเข้ามาท าให้ได้กล้วยที่ใหม่และกรอบอยู่ตลอดเวลา
                          การพัฒนาผลิตภัณฑ์ กลุ่มได้มีการประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันทุกเดือน และมีการ

                  น าสมาชิกกลุ่มไปศึกษาดูงานกลุ่มอาชีพอื่น  ๆ  เพื่อน าความรู้ใหม่  ๆ  มาพัฒนาผลิตภัณฑ์  และมีการ

                  เชื่อมโยงกับเครือข่ายซึ่งเป็นกลุ่มสตรีอื่น  ๆ  ในการหาตลาดร่วมกัน  แลกเปลี่ยนความรู้เรื่องการบริหาร
                  จัดการกลุ่มให้ยั่งยืน และจากการที่กลุ่มได้ไปศึกษาดูงานการผลิตกล้วยฉาบที่จังหวัดสุโขทัย ท าให้กลุ่ม

                  ได้เครือข่ายในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนาผลิตภัณฑ์กว้างขึ้น  ความรู้จากการไปศึกษาดูงานท าให้

                  กลุ่มได้แนวคิดเกี่ยวกับการฝานกล้วยฉาบให้ได้ในปริมาณมาก  ๆ ได้เรียนรู้และขยายการผลิตสินค้าชนิด
                  อื่น ๆ เพิ่ม เช่น การท าเผือกฉาบ มันฝรั่งทอด และการพัฒนารสชาติของผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลาย

                  มากขึ้น  ท าให้กลุ่มได้รับการพัฒนา  มีใบอนุญาตที่เรียกว่า  อย.  มาเป็นเครื่องก ากับถึงคุณภาพของ

                  ผลิตภัณฑ์มีการขยายตลาดไปต่างจังหวัด และต่างประเทศ กลุ่มจึงเป็นที่รู้จักและด ารงอยู่ได้มาจนถึงทุก

                  วันนี้
                          จากตัวอย่างการด าเนินการกลุ่มกล้วยหอมยัดเยียด  ได้มีการน าการจัดการความรู้มาใช้เพื่อการ

                  พัฒนากลุ่มกระบวนการจัดการความรู้ของกลุ่มเป็นดังนี้

                          1.  การบ่งชี้ความรู้  เป้ าหมายของการรวมกลุ่มกล้วยหอมยัดเยียด  คือ สร้างรายได้ให้กับ

                  สมาชิกกลุ่มอาชีพ  และพัฒนากลุ่มอาชีพให้เข้มแข็ง  ยั่งยืน  มีรายได้อย่างต่อเนื่อง  กลุ่มต้องมีความรู้ใน
                  เรื่องวัตถุดิบ กระบวนการผลิต การตลาด การรวมกลุ่ม การสร้างเครือข่าย
   105   106   107   108   109   110   111   112   113   114   115