Page 107 - ทักษะการเรียนรู้ (ทร21001) ม.ต้น
P. 107
99
เมื่อเหลือใช้แล้วตาพร าก็ขายให้กับเพื่อนบ้าน เขาขายดีจนผลิตไม่ทัน ต้องเพิ่มจ านวนเตาขึ้น
เดี๋ยวนี้เขาไม่ต้องไปรับจ้างฉีดยาฆ่าหญ้าแล้ววัน ๆ หนึ่งเขาท าสวนผักใช้น ้าส้มควันไม้แทนสารเคมีก าจัด
ศัตรูพืช กรองน ้าส้มควันไม้ใส่ขวดขายขวดละ 50 บาท กรอกถ่านใส่ถุงขายถุงละ 15 บาท ซึ่งนอกจากเขา
จะลดรายจ่ายในครัวเรือนได้จริงแล้ว เขายังมีรายได้เพิ่มขึ้นด้วย
วัน ๆ หนึ่งตาพร าขลุกอยู่กับสวนผัก ขลุกอยู่กับเตาถ่าน วางแผนงานในวันรุ่งขึ้น ว่าจะจัดการกับ
ผักอะไรบ้าง อย่างไร จะจัดการกับการตลาดของถ่านและน ้าส้มควันไม้อย่างไร จนลืมเรื่องเหล้าบุหรี่ไป
ปัจจุบันเขาเกือบจะไม่ได้แตะต้องมันจะมีบ้างก็กับเพื่อนๆ และสมาชิกเครือข่ายบางคนเป็นครั้งคราว
เท่านั้น หนี้สินจึงลดลงไปมาก แม้จะยังไม่หมด แต่ก็มีความหวังเพราะเขาจัดการได้ ความทุกข์หลายด้าน
ลดลง ทั้งโรคภัยไข้เจ็บและความสุขของครอบครัว ลูกคนหนึ่งลาออกจากโรงงานท ารองเท้าช่วยพ่อแม่
ทุกคนกินอิ่มนอนหลับ
ช่วงหลังนี้ตาพร าเป็นที่ยอมรับของเพื่อนบ้าน ของสมาชิกกลุ่มและเครือข่ายเกษตรยั่งยืน เขาเป็น
วิทยากรเรื่องน ้าส้มควันไม้ด้วยความมั่นใจ เขาสร้างความรู้เรื่องนี้ด้วยหนึ่งสมองกับสองมือ และถ่ายทอด
ถึงมรรควิธีการจัดการทรัพยากร รวมทั้งการจัดการกับปัญหาต่าง ๆ ซึ่งเป็นทุกข์ของครอบครัวด้วย
ใบหน้ายิ้มแย้มด้วยน ้าใจและเป็นสุข ปัจจุบันเขาสร้างเครือข่ายเรื่องนี้ถึง 4 อ าเภอในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
เมื่อว่างจากงานเขานั่งมองดูสวน และคิดทบทวนสาระต่าง ๆ ในสิ่งที่นายเชิดพูดคุยกับเขาใน
วันแรก อ้อ ! การจัดการความรู้เป็นอย่างนี้เอง มันคือการเรียนรู้ น าความรู้มาจัดการเชิงระบบ สร้าง
ความรู้ใหม่เพื่อปรับตัวให้สอดคล้องกับโลกยุคใหม่ด้วยสติปัญญา ปรับรูปแบบการพัฒนาแต่รักษาความ
สมดุลของระบบความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดการยั่งยืนสืบไป
นี่คือการสรุปเรื่องการจัดการความรู้ของตาพร า !!!
การสรุปองค์ความรู้และการจัดท าสารสนเทศ
การจัดการความรู้ด้วยตนเอง
การสรุปองค์ความรู้
การจัดการความรู้ เรามุ่งหา “ความส าเร็จ” มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรามุ่งหาความส าเร็จ
ในจุดเล็ก ๆ จุดน้อยต่างจุดกัน น ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อให้เกิดการขยายผลไปสู่ความส าเร็จที่ใหญ่ขึ้น
องค์ความรู้เป็นความรู้มาจากการปฏิบัติเรียกว่า “ปัญญา” กระบวนการเรียนรู้เปิดโอกาสให้
ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความรู้ด้วยตนเอง สังเกตสิ่งที่ตนอยากรู้ลงมือปฏิบัติจริง ค้นคว้า และแสวงหาความรู้
เพิ่มจนค้นพบความรู้ สร้างสรรค์เกิดเป็นองค์ความรู้และเกิดประสบการณ์ใหม่ การเรียนรู้แบบนี้จะ
ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาความสามารถในการคิดสู่การปฏิบัติ และเกิด “ปัญญา” หรือองค์ความรู้เฉพาะ
ของตนเอง