Page 109 - ทักษะการเรียนรู้ (ทร21001) ม.ต้น
P. 109
101
กระบวนการจัดการความรู้ด้วยการรวมกลุ่มปฏิบัติการ
กระบวนการจัดการความรู้ด้วยกลุ่มปฏิบัติการ
ในยุคของการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วนั้น ปัญหาจะมีความซับซ้อนมากขึ้น เราจ าเป็นต้องมี
ความรู้ที่หลากหลาย ความรู้ส่วนหนึ่งอยู่ในรูปของเอกสาร ต ารา หรืออยู่ในรูปของสื่ออิเล็กทรอนิกส์
เช่น เทปวิดีโอ แต่ความรู้ที่มีอยู่มากที่สุดคืออยู่ในสมองคน ในรูปแบบของประสบการณ์ ความจ า การ
ท างานที่ประสบผลส าเร็จ การด ารงชีวิตอยู่ในสังคมปัจจุบัน จ าเป็นต้องใช้ความรู้อย่างหลากหลาย น า
ความรู้หลายวิชามาเชื่อมโยง บูรณาการให้เกิดการคิด วิเคราะห์ สร้างความรู้ใหม่จากการแก้ปัญหาและ
พัฒนาตนเอง ความรู้บางอย่างเกิดขึ้นจากการรวมกลุ่มเพื่อแก้ปัญหา หรือพัฒนาในระดับกลุ่ม องค์กร
หรือชุมชน ดังนั้น จึงต้องมีการรวมกลุ่มเพื่อจัดการความรู้ร่วมกัน
ปัจจัยที่ท าให้การจัดการความรู้ด้วยการรวมกลุ่มปฏิบัติการประสบผลส าเร็จ
1. วัฒนธรรมและพฤติกรรมของคนในกลุ่ม คนในกลุ่มต้องมีเจตคติที่ดีในการ แบ่งปัน
ความรู้ซึ่งกันและกัน มีความไว้เนื้อเชื่อใจกัน ให้เกียรติกัน และเคารพความคิดเห็นของคนในกลุ่มทุกคน
2. ผู้น ากลุ่ม ต้องมองว่าคนทุกคนมีคุณค่า มีความรู้จากประสบการณ์ ผู้น ากลุ่มต้องเป็น
ต้นแบบในการแบ่งปันความรู้ ก าหนดเป้ าหมายของการจัดการความรู้ในกลุ่มให้ชัดเจน หาวิธีการให้คน
ในกลุ่มน าเรื่องที่ตนรู้ออกมาเล่าสู่กันฟัง การให้เกียรติกับทุกคนจะท าให้ทุกคนกล้าแสดงออกในทาง
สร้างสรรค์
3. เทคโนโลยี ความรู้ที่เกิดจากการรวมกลุ่มปฏิบัติการเพื่อถอดองค์ความรู้ ปัจจุบันมีการใช้
เทคโนโลยีมาใช้เพื่อการจัดเก็บ เผยแพร่ความรู้กันอย่างกว้างขวาง จัดเก็บในรูปของเอกสารในเว็บไซต์
วิดีโอ VCD หรือจดหมายข่าว เป็นต้น
4. การน าไปใช้ การติดตามประเมินผล จะช่วยให้ทราบว่าความรู้ที่ได้จากการรวมกลุ่ม
ปฏิบัติการ มีการน าไปใช้หรือไม่ การติดตามผลอาจใช้วิธีการสังเกต สัมภาษณ์ หรือ ถอดบทเรียน
ผู้เกี่ยวข้อง ประเมินผลจากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในกลุ่ม ความสัมพันธ์ความเป็นชุมชนที่รวมตัวกัน
เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้กันอย่างสม ่าเสมอ รวมทั้งการพัฒนาด้านอื่น ๆ ที่ส่งผลให้กลุ่มเจริญเติบโตขึ้นด้วย
ตั ว อ ย่ า ง ก ลุ่ ม ห อ ม ท อ ง ยั ด เ ยี ย ด
บ้านปางป้ อมกลาง ต าบลลอ อ าเภอจุน จังหวัดพะเยา เป็นพื้นที่ที่ปลูกกล้วยกันมาก ราคากล้วย
ตกต ่า และมีกล้วยชนิดหนึ่งที่ชาวบ้านเรียกว่า “กล้วยส้ม” ชาวบ้านไม่ค่อยนิยมรับประทาน เนื่องจากเมื่อ
สุกแล้วจะมีรสออกเปรี้ยว จะน าไปให้ไก่กิน เนื้อกล้วยทั้งที่ยังดิบหรือสุกจะมีสีเหลืองนวล นางอชิรา
ปัญญาฟู ซึ่งเป็นหัวหน้ากลุ่ม ได้ศึกษาวิธีการท ากล้วยฉาบจากกลุ่มสตรีอ าเภอแม่ใจ และทดลองท ากล้วย
ฉาบจากกล้วยส้ม หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “กล้วยหอมทอง” ทดลองหลายครั้งและน าเนยมาเป็นส่วนผสม