Page 108 - ทักษะการเรียนรู้ (ทร21001) ม.ต้น
P. 108
100
องค์ความรู้มีอยู่อย่างมากมาย การปฏิบัติงานจนประสบผลส าเร็จ รวมทั้งการแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่
เกิดขึ้นในระหว่างการท างานที่ส่งผลให้งานส าเร็จลุล่วงตามเป้ าประสงค์ ถือว่าเป็นองค์ความรู้ที่เกิดขึ้น
ทั้งสิ้น และเป็นองค์ความรู้ที่มีค่าต่อการเรียนรู้ทั้งสิ้น
การสรุปองค์ความรู้มีความส าคัญต่อกระบวนการจัดการความรู้เป็นอย่างยิ่ง เพราะการสรุปองค์
ความรู้จะเป็นการต่อยอดความรู้ให้กับตนเองและผู้อื่น หากบุคคลอื่นต้องการความช่วยเหลือในการ
แก้ปัญหาบางเรื่อง เราจะใช้ความรู้ที่มีอยู่ช่วยเหลือเพื่อนได้อย่างไร และเมื่อเราจะเริ่มต้นท าอะไร เรารู้
บ้างไหมว่ามีใครท าเรื่องนี้มาบ้าง อยู่ที่ไหนในชุมชนของเรา เพื่อที่เราจะท างานให้ส าเร็จได้ง่ายขึ้น และ
ไม่ท าผิดซ ้าซ้อน การด าเนินการจัดการองค์ความรู้อาจต้องด าเนินการตามขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้
1. การก าหนดความรู้หลักที่จ าเป็นหรือส าคัญต่องาน หรือกิจกรรมของกลุ่ม หรือองค์กร
2. การเสาะหาความรู้ที่ต้องการ
3. การปรับปรุง ดัดแปลง หรือสร้างความรู้บางส่วนให้เหมาะต่อการใช้งานของตน
4. การประยุกต์ใช้ความรู้ในกิจกรรมงานของตน
5. การน าประสบการณ์จากการท างาน และการประยุกต์ใช้ความรู้มาแลกเปลี่ยน
เรียนรู้และสกัดขุมความรู้ ออกมาบันทึกไว้
6. การจัดบันทึก “ขุมความรู้” และ “แก่นความรู้” ส าหรับไว้ใช้งาน และปรับปรุงเป็นชุด
ความรู้ที่ครบถ้วน ลุ่มลึก และเชื่อมโยงมากขึ้น เหมาะต่อการใช้งานมากขึ้น
การจัดการความรู้เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ที่ต้องการ เริ่มจากการก าหนด “เป้ าหมายของงาน” นั่นคือ
การบรรลุผลสัมฤทธิ์ ในการด าเนินการตามที่ก าหนดไว้ คือ
1. การตอบสนอง คือ การสนองตอบความต้องการของทุกคนที่เกี่ยวข้อง
2. การมีนวัตกรรม คือ 1) นวัตกรรมในการท างาน
2) นวัตกรรมทางผลงาน
3. ขีดความสามารถ คือ การมีสมรรถนะที่เกิดจากการเรียนรู้ของตนเอง
4. ประสิทธิภาพ คือ องค์ความรู้ หรือ คลังความรู้
การจัดท าสารสนเทศการจัดการความรู้ด้วยตนเอง
การจัดการความรู้ด้วยตนเอง องค์ความรู้ก็ยังอยู่ในสมองคนในรูปของประสบการณ์จากการ
ท างานที่ประสบผลส าเร็จนั้น เราต้องมีการถอดองค์ความรู้ซึ่งอาจไหลเวียนองค์ความรู้จากคนสู่คน หรือ
จากคนมาจัดท าเป็นสารสนเทศในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อให้คนเข้าถึงความรู้ได้ง่ายและน าไปสู่การปฏิบัติได้
โดยการน าความรู้ที่ได้มาจัดเก็บเป็นหมวดหมู่ของความรู้การชี้แหล่งความรู้ การสร้างเครื่องมือในการ
เข้าถึงความรู้ การกรองความรู้ การเชื่อมโยงความรู้ การจัดระบบองค์ความรู้ยังหมายรวมถึงการท าให้
ความรู้ละเอียดชัดเจนขึ้น องค์ความรู้อาจจัดเก็บไว้ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น บันทึกความรู้ แฟ้มสะสมงาน
เอกสารจากการถอดบทเรียน แผ่นซีดี เว็บไซต์ เว็บบล็อค เป็นต้น