Page 26 - ศาสนาและหน้าที่พลเมือง ม.ต้น
P. 26

18

                       ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัว แมวาสัมพันธภาพระหวางไทยกับ

               ฝรั่งเศสไมดีนัก แตพระองคก็ทรงรับรองมิสซังโรมันคาทอลิก เปนนิติบุคคล
                       ดานสังคมสงเคราะห ในรัชสมัยนี้ทรงพระราชทานเงินทุนในการกอสรางโรงเรียน เกิดโรงเรียน

               อัสสัมชัญ ใน พ.ศ.  2420  (ค.ศ.  1877)  ภายหลังเกิดโรงเรียนอีกหลายแหง เชน โรงเรียนอัสสัมชัญ-
               คอนแวนต โรงเรียนเซ็นตฟรังซิสซาเวียร และโรงพยาบาลเซนตหลุยส

                     การเผยแพรคริสตศาสนานิกายโปรเตสแตนตในประเทศไทย
                       คณะเผยแพรของนิกายโปรเตสแตนต กลุมแรกที่เขามาประเทศไทยตามหลักฐานที่ปรากฏ

               คือ ศิษยาภิบาล 2 ทาน ศาสนาจารยคารล ออกัสตัส เฟรดเดอริค กุตสลาฟ เอ็ม.ดี (Rev. Carl Friedrich
               Augustus Gutzlaff) ชาวเยอรมันจากสมาคมเนเธอรแลนดมิชชันนารี (Netherlands Missionary

               Society) และศาสนาจารยจาคอบ ทอมลิน (Rev.Jacob Tomlin) ชาวอังกฤษ จากสมาคมลอนดอน
               มิชชันนารี (London Missionary Society) มาถึงประเทศไทย เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2371

               (ค.ศ. 1828) ทั้งสองทานชวยกันเผยแพรศาสนาดวยความเขมแข็ง
                       ตอมาจึงมีศาสนาจารยจากคณะอเมริกันบอรด (The American Board of Commissioners

               for Foreign Missions หรือ A.B.C.F.M.) เขามา
                       ในบรรดานักเผยแพรศาสนานั้น ผูที่มีชื่อเสียง คือ หมอสอนศาสนา แดน บีช บรัดเลย เอ็ม ดี

               (Rev.  Dan  Beach  Bradley,M.D.)  หรือ หมอบรัดเลย  (คนไทยมักเรียกวา หมอบลัดเล)  ซึ่งเปนเพรส-
               ไบทีเรียน ในคณะอเมริกันบอรด เขามากรุงเทพฯ (ขณะนั้นเรียกวา บางกอก) พรอมภรรยา เมื่อวันที่

               18 กรกฎาคม พ.ศ. 2378 (ค.ศ. 1835)
                       ตลอดเวลาที่ทานอยูในประเทศไทยไดสรางคุณประโยชนมากมาย โดยเฉพาะอยางยิ่งทาง

               การแพทยและการพิมพ ทั้งรักษาผูปวยไขทรพิษและอหิวาตกโรค นําการผาตัดเขามาครั้งแรก
               การทดลองปลูกฝดาษในประเทศไทย ริเริ่มการสรางโรงพิมพ เริ่มจากจัดพิมพใบประกาศหามคาฝน

               และจัดพิมพหนังสือ “บางกอกกาลันเดอร” ซึ่งเปนจดหมายเหตุรายวัน กลาวไดวา ความเชื่อมั่นของ
               ชาวไทยตอการเผยแผคริสตศาสนา เกิดจากคณะสมาคมอเมริกันมิชชันนารี นําความเจริญเขามา
               ควบคูไปกับการเผยแผศาสนา

                       มิชชันนารีที่สําคัญอีก 2 กลุม ไดแก คณะอเมริกันแบ็พติสมิชชัน (The Americam Baptist
               Mission) เปนผูกอตั้งคริสตจักรโปรเตสแตนตแหงแรกในกรุงเทพฯ เมื่อประมาณกลาง ป พ.ศ. 2380

               (ค.ศ. 1837) และจัดพิมพหนังสือภาษาไทยและภาษาอังกฤษ รวมทั้งออกหนังสือพิมพ “สยามสมัย”
                       คณะอเมริกันเพรสไบทีเรียน บอรด (The American Presbyterian Board) เปนอีกกลุมหนึ่ง

               ที่นําความเจริญสูประเทศไทย เชน ดร.เฮาส (Samuel R. House) นําการใชอีเทอรเปนยาสลบครั้งแรก
               ในประเทศไทย ขณะที่ศาสนาจารยแมตตูน และภรรยา  (Rev.  and  Mrs.  Stephen  Mattoon)
   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31