Page 76 - mukdahansuksapub
P. 76
76 (๑).พระยาพนมนครานุรักษ์ (กา พิมพานนท์)ผู้ว่าราชการเมืองนครพนม (๒).พระยาศศิวงษ์ประวัติ(เมฆ จันทรสาขา) อดีตเจ้าเมืองมุกดาหาร จางวางกํากับราชการเมืองมุกดาหาร (๓).พระยาจันตประเทศธานี (โง่นคํา พรหมสาขา ฯ) ผู้ว่าราชการเมืองสกลนคร (๔).พระยาพิสัยสรเดช (คําสิงห์ สิงหสิริ )ผู้ว่าราชการเมืองโพนพิสัย (๕).พระยาสุนทร เทพกิจจารักษ์ (เลื่อง ภูมิรัตน์) ข้าหลวงประจําบริเวณธาตุพนม (๖).พระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร (โพธิ์ เนติโพธิ์) สมุหเทศาภิบาลมณฑลอุดร (๗).สมเด็จพระเจ้าบรมวงษ์เธอ กรมพระยาดํารงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย (๘).พระยากําแหงสงคราม (จันทร์ อินทรกําแหง) สมุหเทศาภิบาลมณฑลนครราชสีมา (๙).ม.จ.ประสบประสงค์ ชุมพล (๑๐).พระยาจ่าแสนยบดี(อวบ เปาวโรหิต)เจ้ากรมพลัมภัง กระทรวงมหาดไทย ซึ่งต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น เจ้าพระยามุขมนตรี ปลัดทูลฉลองกระทรวงมหาดไทย ตั้งแต่ท่านดํารงตําแหน่งเจ้าเมืองมุกดาหารในปี พ.ศ.๒๔๓๑ จนกระทั่งถึงแก่อนิจกรรมในพ.ศ.๒๔๖๐ ร่วม ๓๐ ปีในจวนของท่านซึ่งอยู่ริมฝั่งโขงจะเต็มไปด้วยข้าทาสบริวารชายหญิงเกือบ ๕๐ คนขึ้นไป แม้จะมีการ เลิกทาสแล้วในสมัยรัชกาลที่ ๕ ข้าทาสบางคนก็ไม่ยอมหนีไปไหน ยังขออยู่และขอพึ่งใบบุญของท่านต่อมาอีก หลายคน ผู้ชายบางคนจะไปช่วยทํานาในฤดูทํานา เพราะท่านมีที่ดินเพื่อทํานาซึ่งเป็นไร่นาตั้งแต่บรรพบุรุษ ตกทอดมาถึงท่านนับร้อยไร่ เช่นที่ไร่นาบริเวณหลังธนาคาร ธ.ก.ส.ปัจจุบันประมาณ ๖๐ กว่าไร่.ไร่นาอีก ๕๐ไร่ ซึ่งชั้นลูกหลานของท่านได้ยกที่ดินให้เป็นสนามบิน(ปัจจุบันเป็นศูนย์ราชการและศาลากลางจังหวัด) พวกข้า ทาสชายหญิงจะช่วยกันทํานาปลูกข้าวหรือบางคนก็ลงเรือเพื่อจับปลาในแม่นํ้าโขงซึ่งจะได้ปลามากมายแทบทุก วัน ฝ่ายหญิงก็จะช่วยตักนํ้าตํานํ้าข้าวทุกวันซึ่งมีข้าวเปลือกเต็มเล้า(ยุ้งฉาง),ทําปลาร้า,ปล้าส้ม,ปลาแห้งและประ