Page 7 - สิริบันยัน
P. 7
7
“ ... ไม่มีใครไม่มีมาร แต่มารมันเกิดแล้วมันก็ดับ
ไม่มีมารใดถาวร ตายหมด มีมารก็ตาย ไม่มีมารก็ตาย
แต่ว่ามารมันไม่ได้ขึ้นบนที่สูง เวลาตาย
เวลาเราจะทำดีมารมาขวาง เวลาเราตายไป
มันไม่ได้ขึ้นสูงเหมือนเรา มันเป็นมารกรรมเก่า มารภพภูมิ
มันอยู่ที่จะตามเราทันตอนไหน เป็นมนุษย์ต้องหูหนัก
อย่าหูเบา ถ้าหูเบาเราก็เป็นมารตามมัน พระพุทธเจ้ายังมีมาร
แล้วสูเป็นใคร ไม่มีใครที่ไม่มีมาร และไม่มีใครไม่พบทุกข์
หลักธรรมดา ที่จริงหลักธรรมะคือหลักธรรมดา
พ่อท่านคล้าย จันทสุวัณโณ แต่ว่าเราเข้าใจธรรมดาไหม ถ้าเราเข้าใจธรรมดา
พระครูพิศิษฐ์อรรถการ แสดงว่าเข้าใจธรรมะก็ธรรมะมันเกิดจากสิ่งที่มันเกิดอยู่แล้ว ...”
วัดธาตุน้อย (จันดี) ต.ช้างกลาง อ.ฉวาง คติธรรม พ่อท่านคล้าย จันทสุวัณโณ วัดสวนขัน จ.นครศรีธรรมราช
จ.นครศรีธรรมราช
ฝากท้อง - ฝากพุง (อาหารการกิน)
ข้าวอ้อ - ข้าวอวน
อาหารยุคโบราณที่หากินยาก
ถ้าหากกล่าวถึงอาหารในยุคโบราณ ที่ใช้เป็นทั้งของกินเล่น และเป็นอาหารใช้บูชาเทพเจ้า น้อยคนคง
ที่จะเคยได้ยินชื่อ “ข้าวอ้อ - ข้าวอวน” เป็นแน่
ข้าวอ้อ - ข้าวอวน เป็น ๑ ใน ๕ กระยาของพราหมณ์เมืองพัทลุงใช้ถวายเทพยดา (ข้าวตอก, ข้าวเม่า,
ข้าวฟ่าง, ข้าวอ้อ และข้าวอวน) มักจะเป็นอาหารที่ขาดไม่ได้ในการนำขึ้นถวายเทพยดา ในช่วงเทศกาลบุญ
ข้าวเม่า อันเป็นช่วงปีใหม่ของพราหมณ์พัทลุง วิธีการทำข้าวอ้อ เริ่มจากการนำเอาข้าวสารไปคั่วไฟให้มีกลิ่นหอมนำ
ไปตำให้ละเอียดเป็นผง เสร็จแล้วจึงนำมาคลุกกับน้ำผึ้ง หรือจะใช้
น้ำตาลโหนดแทนก็ได้ ส่วนข้าวอวนจะทำวิธีเดียวกัน เพียงแต่ใช้
ข้าวเหนียวมาทำ (ข้าวอ้อ - ข้าวอวนที่ทำเสร็จแล้ว)
ปัจจุบันในพัทลุงเอง มีจำนวนผู้ที่ทำข้าวอ้อ - ข้าวอวนน้อยลง
แต่ยังคงมีให้เห็น ในลูกหลานพราหมณ์พัทลุงมาแต่เดิมเท่านั้น ที่ยังคง
สานต่อการทำข้าวอ้อ - ข้าวอวนถวายแด่เทพเจ้า และแจกจ่ายให้ลูกหลานในตระกูลรับประทาน
ในช่วงเทศกาลบุญข้าวเม่า ทุกๆ วันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๔ ของทุกปี
(ข้าวอ้อ - ข้าวอวนใช้ในการบูชาเทพเจ้า)