Page 41 - หลักโภชนา
P. 41
๓๔
๓. โภชนบําบัดในโรคไขมันในหลอดเลือดสูง: คุมไขมันอิ่มตัว
ภาวะไขมันในเลือดสูงจะมีผลใหไขมันไปเกาะตามผนังหลอดเลือดจนขาดความยืดหยุนและ
อุดตันได โดยเฉพาะอยางยิ่งเสนเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ ถาเกิดการอุดตันจะทําใหกลามเนื้อหัวใจตาย
(myocardial infarction) และเสียชีวิตอยางรวดเร็วไขมันที่พบวาเกิดการสะสม คือ คอเลสเตอรอล
เพื่อความปลอดภัยองคการอนามัยโลกไดเสนอใหควบคุมปริมาณคอเลสเตอรอลในเลือดใหตํ่ากวา
๒๐๐ มิลลิกรัมตอเลือด ๑๐๐ มิลลิลิตร
เมื่อคอเลสเตอรอลไดจากอาหาร ก็ตองควบคุมโดยลดการกินไขมันอิ่มตัว เชน ไขมัน
จากสัตว ไขแดง นม นํ้ามันพืชบางชนิด เชน นํ้ามันมะพราว นํ้ามันปาลม เพิ่มปริมาณอาหารที่มี
ใยอาหารใหมากขึ้น เชน ผัก ผลไม ขาวโอต เพราะใยอาหารจะจับกับคอเลสเตอรอลในลําไสเล็ก
ทําใหถูกดูดซึมไดนอย และจะถูกขับออกมาทางอุจจาระ นอกจากนี้ แหลงไขมันที่ควรไดรับ
ในแตละวันควรมาจากไขมันไมอิ่มตัว เชน นํ้ามันถั่วเหลือง นํ้ามันขาวโพด นํ้ามันรําขาว อยางนอย
๑๐-๑๒% ของพลังงานทั้งหมด
๔. โภชนบําบัดในโรคความดันโลหิตสูง : ระวังเกลือ
ความดันโลหิตสูง เปนโรคที่พบไดบอยที่สุด เกิดจากแรงดันภายในหลอดเลือดแดงสูง
ตลอดเวลา โดยแรงดันคาสูงสุด (systolic blood pressure) และแรงดันคาตํ่าสุด (diastolic blood
pressure) มีคาสูงกวา ๑๔๐/๙๐ โรคความดันโลหิตสูงจะทําใหเกิดภาวะแทรกซอนตาง ๆ ตามมา
มากมาย คือหลอดเลือดแดงไมแข็งแรง เลือดไปเลี้ยงไมสะดวก โดยเฉพาะถาเกิดขึ้นในบริเวณอวัยวะ
สําคัญ เชน หัวใจ สมอง ไต หรือจอตา ก็จะสงผลใหเกิดอันตรายหรือถึงแกชีวิตได
หลักการรักษาโรคความดันโลหิตสูง คือ การควบคุมอาหาร การลดนํ้าหนักลงใหอยูในเกณฑ
มาตรฐาน และออกกําลังกายสมํ่าเสมอ รวมทั้งหลีกเลี่ยงความเครียด การดื่มเหลา และสูบบุหรี่
อาหารที่ควรจํากัดคืออาหารที่มีเกลือหรือโซเดียมอยูมาก เพราะโซเดียมที่อยูในเกลือจะทําหนาที่
ในการควบคุมสมดุลแรงดันของผนังเซลลและปริมาณนํ้าในรางกาย อาหารที่มีเกลือโซเดียมมาก ไดแก
นํ้าปลา ซอสปรุงรสตาง ๆ อาหารทะเล และยาบางชนิด นอกจากนี้ผูที่มีความดันโลหิตสูง
ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีนํ้าตาลและไขมันมาก เพราะจะทําใหการควบคุมนํ้าหนักเปนไปไดยาก
โดยนํ้าหนักที่เกินมาตรฐานจะทําใหหัวใจทํางานหนักมากขึ้นดวย
๕. โภชนบําบัดในโรคเครียด : เพิ่มพลังงานและนํ้าตาลในเลือด
ความเครียดเปนภาวะของอารมณหรือความรูสึกที่เกิดขึ้นเมื่อบุคคลตองเผชิญกับปญหา
ตางๆ และทําใหรูสึกถูกกดดัน ไมสบายใจ วุนวายใจ กลัว วิตกกังวล ตลอดจนถูกบีบคั้น เมื่อบุคคล
รับรูหรือประเมินวาปญหาเหลานั้นเปนสิ่งที่คุกคามจิตใจ หรืออาจจะกอใหเกิดอันตรายแกรางกาย
จะสงผลใหสภาวะสมดุลของรางกายและจิตใจเสียไป แบบไหนถึงจะเรียกวาเครียดเมื่อเกิดความเครียด