Page 118 - คู่มือการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการสอบสวนคดีเด็กและเยาวชน
P. 118
ั
์
็
โครงการวจัยการพัฒนากระบวนการจดการและวิเคราะห์วัตถุพยานทางนิตวิทยาศาสตรในคดีเดกและเยาวชน
ิ
ิ
(2) กรณีศึกษาคดีผู้ต้องสงสัยวัยเยาว์
ผู้ให้ข้อมูลสำคัญได้เล่าถึงคดีกระทำชำเราของเด็กและเยาวชน
ซึ่งผู้กระทำผิดและผู้เสียหายเป็นเด็กทั้งคู่ มีอายุเพียงแค่ 8 ขวบ เท่านั้น พฤติการณ์ของคดี
ว่า เหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อกลางปี พ.ศ. 2561 มีผู้ปกครองมาแจ้งความที่สถานีตำรวจ
โดยกล่าวว่าลูกสาวของตนถูกเด็กชาย ก. กระทำชำเรา โดยใช้อวัยวะเพศทิ่มไปยัง
อวัยวะเพศของเด็กหญิง A พนักงานสอบสวนจึงได้นำเด็กหญิง A ไปตรวจร่างกายที่
โรงพยาบาล โดยพบว่ามีอสุจิของผู้ชายอยู่ในอวัยวะเพศของเด็กหญิงจริง ดังนั้น
พนักงานสอบสวนจึงเรียกตัวผู้ต้องสงสัยหรือเด็กชาย ก. มาทำการสอบปากคำ แต่พบว่า
แม่ของเด็กได้นำตัวเด็กชาย ก. หนีไปต่างจังหวัด ทำให้ไม่สามารถนำตัวเด็กชาย ก.
มาตรวจพิสูจน์อสุจิได้ ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวนี้ ผู้กระทำผิดเป็นเพียงเด็กชาย อายุไม่ถึง
10 ปี แม้จะกระทำผิดก็จะไม่ได้รับโทษตามกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา
ความอาญา มาตรา 39(7) กรณีศึกษานี้เป็นคดีที่ถือว่าเป็นบทเรียนให้แก่พนักงานสอบสวน
ผู้ปฏิบัติงานในการจัดการกับพยานหลักฐานต่อไปว่า ในกรณีดังกล่าวจะต้องดำเนินการ
อย่างไรต่อไป เนื่องจากไม่สามารถออกหมายเรียกจับแก่เด็กที่มีอายุไม่ถึง 10 ปี
เมื่อทำหมายแจ้งไปยังผู้ปกครองก็ไม่ได้รับการตอบรับอย่างใดกลับมา ทำให้พนักงาน
สอบสวนต้องหยุดดำเนินคดีเนื่องจากผู้กระทำผิดอายุไม่ถึง 10 ปี และไม่สามารถติดตามเด็ก
กลับมารับผิดได้
ข้อผิดพลาดที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ของเจ้าหน้าที่ตำรวจจาก
การปฏิบัติงาน พบว่า พนักงานสอบสวนส่วนใหญ่ไม่มีประสบการณ์และไม่มีความรู้
ในการดำเนินคดีเกี่ยวกับเด็กที่อายุต่ำกว่า 10 ปี ทำให้เป็นจุดอ่อนที่จะต้องรีบพัฒนา
อย่างเร่งด่วน
คู่มือการจัดการความรู้เพื่อพัฒนากระบวนการสอบสวนคดีเด็กและเยาวชน 117