Page 114 - คู่มือการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการสอบสวนคดีเด็กและเยาวชน
P. 114
็
์
ิ
ั
โครงการวจัยการพัฒนากระบวนการจดการและวิเคราะห์วัตถุพยานทางนิตวิทยาศาสตรในคดีเดกและเยาวชน
ิ
(4) กรณีศึกษาความผิดพิเศษ (พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์)
คณะผู้วิจัยได้ยกตัวอย่างกรณีศึกษาคดีเกี่ยวกับความผิดพิเศษ (พ.ร.บ.ว่าด้วย
การกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์) จากการสัมภาษณ์ประสบการณ์ของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่เคย
ทำคดีกรณีเด็กฉ้อโกงอาจารย์ โดยมีพฤติการณ์ของผู้กระทำความผิดดังนี้ เด็กผู้หญิง
อายุ 16 ปี จะนำโทรศัพท์แม่มาเล่นเฟซบุ๊ก แล้วก็เข้าไปในเฟซบุ๊กพวกงานรับสอนพิเศษ
ต่าง ๆ ในเว็บไซต์เหล่านี้จะมีกลุ่มอาจารย์มาเปิดรับสอน จะมีค่าตอบแทนให้ถ้าสามารถหา
คนมาสมัครเรียนได้ อาจจะให้เป็นค่าตอบแทน 10% หรือ 4,000 - 4,500 บาท
ต่อคนมาสมัคร 1 คน ทางเด็กก็จะแจ้งทางอาจารย์ว่าในกลุ่มมีคนสนใจสมัคร แต่ต้องโอน
เงินให้ก่อน ให้โอนเข้าบัญชีผู้เป็นแม่ถึงจะให้ข้อมูลเบอร์คนที่มาสมัครเรียนให้
ทางผู้เสียหายหลงเชื่อก็โอนเงินให้เรียบร้อย และได้โทรติดต่อผู้ที่สมัครเข้ามาเรียนตาม
หมายเลขโทรศัพท์ที่เด็กได้ให้มา แต่หมายเลขโทรศัพท์ที่ได้มาไม่สามารถโทรติดต่อได้
จึงได้มาแจ้งกับทางตำรวจเพื่อดำเนินคดี
โดยส่วนใหญ่จะเป็นความผิดเกี่ยวกับการซื้อขายทางอินเทอร์เน็ต โดยปกติ
ฝ่ายสืบสวนจะเป็นคนนำหลักฐานมาให้ พยานหลักฐานคือ การแคปหน้าจอเกี่ยวกับการ
พูดคุยของผู้ขายและผู้ซื้อ การที่จะนำข้อมูลการแชทมาเชื่อมโยงการกระทำผิดนั้นได้นั้น
จะต้องสืบให้แน่ชัดว่า บัญชีผู้ใช้เป็นของผู้กระทำความผิดจริงไม่ใช่ของปลอม ซึ่งต้องดู
ข้อมูลประกอบกันหลายอย่าง ถ้าเขาใช้บัญชีปลอมก็ยากทจะสืบหาตัวผู้กระทำความผิดได้
ี่
กรณีที่เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ไม่สามารถขนย้ายได้ จะทำการรักษาป้องกัน
สถานที่เกิดเหตุนั้น พร้อมทั้งประสานไปที่สำนักงานพิสูจน์หลักฐาน ซึ่งมีความชำนาญ
เฉพาะด้านให้มาดำเนินการเก็บวัตถุพยาน ในบางครั้งมีการตรวจลายนิ้วมือแฝงร่วมด้วย
พยานหลักฐานในคดีฉ้อโกงผ่านคอมพิวเตอร์
1) เลขที่บัญชีที่มีการโอนเงิน
2) ข้อมูลการใช้เฟซบุ๊กในโทรศัพท์ของผู้กระทำความผิดที่ใช้ติดต่อกับผู้เสียหาย
คู่มือการจัดการความรู้เพื่อพัฒนากระบวนการสอบสวนคดีเด็กและเยาวชน 113