Page 119 - คู่มือการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการสอบสวนคดีเด็กและเยาวชน
P. 119
ั
ั
ิ
โครงการวจัยการพัฒนากระบวนการจดการและวิเคราะห์วตถุพยานทางนิตวิทยาศาสตรในคดีเดกและเยาวชน
์
็
ิ
์
(3) ประสบการณการพิจารณาและตัดสินพิพากษาคดีเด็กและเยาวชน
ที่น่าสนใจของผู้พิพากษา
ผู้ให้ข้อมูลสำคัญได้เล่าถึงประสบการณ์ กรณีของคดีเด็กและเยาวชน
ที่เป็นผู้หญิง อายุ 12 ปี ถูกกลุ่มผู้ชายประมาณ 20 คน รุมโทรม ซึ่งคดีดังกล่าว
มีการพิจารณาในชั้นศาล โดยมีการเรียกผู้เสียหายที่เป็นผู้หญิงมาให้การในชั้นศาล
หลายครั้ง รวมระยะเวลาผ่านมามากถึง 8 ปี และด้วยความที่ผู้พิพากษามีความต้องการ
จะให้ผู้กระทำความผิดได้รับการลงโทษตามกฎหมาย จึงมีการเชิญผู้เสียหายที่เคยถูกข่มขืน
เมื่อ 8 ปีที่แล้วมาให้การเพิ่มเติม ซึ่งเมื่อผู้หญิงผู้เสียหายเข้ามาให้การในชั้นศาล ผู้เสียหาย
กลับร้องไห้ และไม่ต้องการให้ข้อมูลหรือให้การในชั้นศาลเพิ่มเติมแล้ว เนื่องจาก
ผู้เสียหายไม่อยากพบกลุ่มผู้ชายที่มารุมโทรม ตลอดจนผู้เสียหายมีความรู้สึกว่า
การมาให้การในชั้นศาลจะต้องกลับมาเจอคำถามจากทนายความและคำถาม
จากผู้พิพากษาในลักษณะเดิม ๆ ทำให้ผู้เสียหายเองรู้สึกเสมือนถูกข่มขืนซ้ำ
ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้ผู้พิพากษารู้สึกว่ากระบวนการในการจะต้องมาให้การในชั้นศาล
ในคดีทางเพศเป็นจำนวนหลาย ๆ ครั้ง จะส่งผลกระทบต่อความรู้สึกของผู้เสียหาย
อย่างมาก ซึ่งในทางปฏิบัติไม่ควรมีการสอบสวนเพิ่มเติม แต่ควรเน้นการใช ้
วัตถุพยานต่าง ๆ เป็นสื่อกลางแทนการบอกเล่าของผู้เสียหาย ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้
ผู้เสียหายรู้สึกได้รับการกระทบกระเทือนจิตใจ
118 คู่มือการจัดการความรู้เพื่อพัฒนากระบวนการสอบสวนคดีเด็กและเยาวชน