Page 117 - คู่มือการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการสอบสวนคดีเด็กและเยาวชน
P. 117
ั
ั
ิ
โครงการวจัยการพัฒนากระบวนการจดการและวิเคราะห์วตถุพยานทางนิตวิทยาศาสตรในคดีเดกและเยาวชน
็
์
ิ
“ข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากการที่ไม่ตรวจสภาพพื้นที่ว่าแคมป์
ตรงนั้นเป็นอย่างไร วันนั้นในพื้นที่มีสื่อมวลชนและประชนชนเยอะมาก
เจ้าหน้าที่ก็กรูเข้าไปในที่เกิดเหตุเพราะทุกคนต้องการถ่ายภาพที่ดีที่สุด
ด้วยความที่คนเข้าไปเยอะ แต่ปรากฏว่าพื้นทรุดถล่มลงมา ทั้งมูลนิธิ
สื่อมวลชน เจ้าหน้าที่ ตกลงไปด้านล่างซึ่งด้านล่างเป็นกรงกระจก
ั
ตำรวจเกาะตามกรง เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้วตถุพยานได้รับความเสียหาย
นั่นคือ 1) มีดที่ผู้กระทำผิดใช้ก่อเหตุตกลงไปกับพื้นจมน้ำไป 2) ไม่สามารถ
ตรวจร่องรอยใด ๆ ได้ แต่กรณีนี้ผู้กระทำผิดเสียชีวิต คือ สิทธิการนำ
คดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามมาตรา 39”
ข้อผิดพลาดที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่มีประสบการณ ์
ด้านการตรวจสถานที่เกิดเหตุ
1) เกิดจากการขาดประสบการณ์และความรู้ในการเข้าสถานที่เกิดเหตุ
และเป็นความผิดพลาดในการรักษาสถานที่เกิดเหตุ คือ ไม่ได้พิจารณาดูสถานที่เกิดเหตุ
ไม่ได้ตรวจสอบบริเวณโดยรอบ แม้จะมีการกั้นสถานที่เกิดเหตุ แต่ไม่ควรให้ผู้ที่
ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าไป
2) เจ้าหน้าขาดความเข้มงวดในการป้องกันสถานที่เกิดเหตุ
ซึ่งกระบวนการนี้เป็นขั้นตอนที่สำคัญมากที่เจ้าหน้าที่ตำรวจจะต้องพึงระวัง โดยเจ้าหน้าที่
จะต้องรักษาสถานที่เกิดเหตุและห้ามบุคคลอื่นใดที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าไปในสถานที่
ปิดกั้น ซึ่งหากจะต้องเข้าไปจะต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานสอบสวนหรือเจ้าหน้าที่
ตรวจสถานที่เกิดเหตุที่มีพื้นที่รับผิดชอบก่อนเสมอ เพราะมิฉะนั้น จะเกิดความเสียหาย
ดังกรณีตัวอย่างที่กล่าวมาข้างต้น
116 คู่มือการจัดการความรู้เพื่อพัฒนากระบวนการสอบสวนคดีเด็กและเยาวชน