Page 135 - โครงการสื่ออิเล็กทรอนิกส์เนย
P. 135

หน้าที่ 132
















              การกระตุ้นมูลเหตุจูงใจ
                    สิ่งที่สะสมอยู่ในความทรงจํา จะต้องดําเนินควบคู่ไปกับเเรงกระตุ้น จึงเกิดเป็นสิ่งจูงใจหรือมูลเหตุ

              จูงใจขึ้น มูลเหตุจูงใจจะทําให้เกิดพฤติกรรมขึ้นมากหรือไม่ขึ้นอยู่กับสิ่งต่อไปนี้
                       1.ความเข้มข้นของเหตุจูงใจ  เหตุจูงใจที่มีความเข้มข้นมาก คือ การที่บุคคลเคยใช้สินค้าเเล้ว

              ได้รับผลดีมากกว่าผลเสีย ยิ่งมีความถี่ (ได้รับผลดีบ่อยครั้ง) มากขึ้นเท่าใด นั่นหมายถึงมีความเข้มข้นมาก
              ขึ้นเท่านั้น ดังนั้นหากมูลเหตุจูงใจมีความเข้มข้นย่อมส่งผลให้ผู้บริโภคเกิดพฤติกรรมได้ง่ายขึ้น

                       2.เเรงกระตุ้นหรือสิ่งบอกเหตุ  เเรงกระตุ้นหรือสิ่งบอกเหตุจะมีอิทธิพลต่อมูลเหตุจูงใจเมื่อเเรงก
              ระตุ้นหรือสิ่งบอกเหตุนั้นสอดคล้องกับความต้องการของเขา  ก็จะเป็นการชี้ชวนให้เขาเกิดการกระทํา

              มากขึ้น เช่น เจ้าของสินค้าโฆษณาว่าเมื่อสินค้าเเล้วจะทําให้ผู้ซื้อประหยัดค่าใช้จ่ายลงได้ ซึ่งตรงกับความ
              ต้องการของเเม่บ้านคนหนึ่งพอดี โอกาสที่จะเกิดการตัดสินใจซื้อย่อมมีมากกว่า
              การวิจัยมูลเหตุจูงใจ

                   การวิจัยมูลเหตุจูงใจเป็นความพยายามที่จะหาหนทางให้เข้าใจว่า ทําไมคนจึงปฏิบัติเช่นนั้น จาก

              การวิจัยที่กระทํากันอยู่นั้นยังไม่อยู่ในขั้นที่สมบูรณ์อันเนื่องมาจากอุปสรรคต่างๆ ได้เเก่ จํานวน กลุ่ม
              ตัวอย่างเล็กเกินไป วิธีการสิจัยยังไม่มีประสิทธิภาพ เป็นต้น นักวิชาการหลายท่านได้ให้ข้อคิดว่า การวิจัย
              มูลเหตุจูงใจต้องอาศัยเทคนิคทางด้านการทดลองทางจิตวิทยาเป็นอย่างมาก เทคนิคดังกล่าว

              ประกอบด้วย การสัมภาษณ์เพื่อให้ทราบส่วนลึกของจิตใจ ซึ่งเป็นเรื่องยากมากสําหรับการที่จะเข้าไป
              ทราบถึงส่วนลึกของจิตใจผู้ถูกสัมภาษณ์ภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมง เทคนิคอีกอย่างหนึ่งก็คือ การทดสอบ

              ทางอ้อม ซึ่งสามารถกระทําได้หลายวิธี เช่น การตั้งคําถามรายละเอียดของเป้าหมายเเต่ให้เพื่อนบ้านเป็น
              ผู้ตอบเเทน หรืออาจเป็นการใช้ภาพการ์ตูน ให้ต่อ
   130   131   132   133   134   135   136   137   138   139   140