Page 157 - โครงการสื่ออิเล็กทรอนิกส์เนย
P. 157

หน้าที่ 154
















                    ในประเทศไทย ประชากรนับถือศาสนาใหญ่ๆ อยู่ 3 ศาสนา ได้แก่ ศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์และ
           ศาสนาอิสลาม แต่ละศาสนาจะมีวิธีปฏิบัติที่แตกต่างกันออกไป จึงเป็นสิ่งสําคัญอย่างยิ่งที่นักการตลาจะต้อง

           ศึกษา เพื่อจะได้กําหนดผลิตภัณฑ์ การโฆษณา การส่งเสริมการขายและกิจกรรมทางด้านการตลาดอื่นๆ ให้
           สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายเหล่านี้ เพราะหากเกิดการผิดพลาดขึ้นแล้วจะเป็นผลเสียหายอย่างยิ่งต่อทัศนคติ

           ของพวกเขาที่มีต่อกิจการและสินค้า
           3.วัฒนธรรมย่อยด้านท้องถิ่น

                    วัฒนธรรมย่อยด้านท้องถิ่น เกี่ยวข้องกับความแตกต่างกันด้านสถานที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ซึ่งจากการที่
           ประชากรอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่ต่างกัน ทําให้มีความแตกต่างกันในด้านขนบธรรมเนียมประเพณี ภาษา สําเนียง

           พูด การแต่งกาย บ้านเรือน การประกอบอาชีพ ค่านิยม ความเชื่อถืออุปนิสัย การละเล่น และพฤติกรรมใน
           การบริโภค ฯลฯ ท้องถิ่นต่างๆ จะมีการปฏิบัติวัฒนธรรมภาคกลางที่มีเอกลักษณ์ของตนเอง เช่น กลุ่มคนใน
           ภาคเหนือจะมีความเชื่อแตกต่างจากคนในภาคใต้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นต้น

                    นอกจากนี้แล้ววัฒนธรรมย่อยด้านท้องถิ่น อาจแบ่งเป็นวัฒนธรรมย่อยสําหรับคนในชนบท
           วัฒนธรรมย่อยสําหรับคนในตัวเมืองในชนบท และวัฒนธรรมย่อยสําหรับคนในกรุงเทพมหานครก็ได้สิ่งที่

           นักการตลาดจะต้องพิจารณาเพื่อจะได้กําหนดกลยุทธ์ทางการตลาดให้เหมาะสมกับแต่ละท้องถิ่นได้เเก่
                    1) ลักษณะด้านประชากรศาสตร์   ชาวชนบทส่วนใหญ่จะมีการศึกษาน้อยการประกอบอาชีพ และ
           รายได้จะเสียเปรียบคนในเมือง ชาวชนบทมักอาศัยรวมตัวกันเป็นหมู่บ้านแต่ละหมู่บ้านอยู่กระจัดกระจายกัน

           ออกไป ชาวชนบทมีอํานาจซื้อน้อยกว่าคนในเมือง ดังนั้นจึงมักเลือกซื้อสินค้าที่จําเป็นต่อการดํารงชีวิตที่มี
           ราคาถูก และคุณภาพปานกลางเท่านั้น ซึ่งจะแตกต่างจากประชากรในเมือง โดยเฉพาะในเขต

           กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นใจกลางเมือง มีประชากร
   152   153   154   155   156   157   158   159   160   161   162