Page 160 - โครงการสื่ออิเล็กทรอนิกส์เนย
P. 160
หน้าที่ 157
4.วัฒนธรรมย่อยด้านอาชีพ ในสังคมหรือในประเทศไทยเราจะมีบุคคลประกอบอาชีพต่างๆ ซึ่งแบ่งออกเป็น
กลุ่มใหญ่ๆได้ดังนี้
1) อาชีพเกษตรกร เป็นอาชีพที่ประชากรมีรายได้ต่อหัวต่ํา ดังนั้น สินค้าสําหรับมากลุ่มนีจะต้อง
เป็นสินค้าที่ราคาถูก เน้นปริมาณมากกว่าคุณภาพ การโฆษณาต้องใช้ภาษาที่เข้าใจง่ายใช้การจูงใจด้าน
เหตุผล สื่อที่ใช้ในการโฆษณาอาจเป็นวิทยุท้องถิ่นหรือวิทยุระบบ A.M หากใช้พนักงานขาย ควรเข้าหาผู้นํา
ท้องถิ่น เช่น ผู้ใหญ่บ้าน กํานัน แพทย์ประจําตําบล จะได้รับความเชื่อถือกว่าการเข้าถึงกลุ่มเกษตรกร
โดยตรง
2) อาชีพนักธุรกิจและเจ้าของกิจการ เป็นกลุ่มคนที่มีรายได้สูง สินค้าที่ซื้อเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย
ราคาแพง คุณภาพดี เช่น รถยนต์ยุโรป สินค้ายี่ห้อดัง เคเบิลทีวี แพ็คเกจทัวร์ เป็นต้นการโฆษณา ต้องจูงใจ
ด้านอารมณ์มากกว่าเหตุผล ชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างที่เหนือกว่าของผู้ที่ใช้สินค้ากับผู้ที่ไม่ได้ใช้สินค้ารวมทั้ง
จูงใจด้านจิตวิทย เช่น ความเป็นเอกลักษณ์และสถานภาพทางสังคม
3) อาชีพพนักงาน ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ กลุ่มนี้มีรายได้ในรูปเงินเดือนประจาซึ่งค่อนข้างต่ํา
จึงนิยมซื้อสินค้าระบบผ่อนชําระ กลุ่มคน พวกนี้มักซื้อสินค้าบริโภคที่จําเป็นและแต่งกายทันสมัย
4) อาชีพของกลุ่มผู้ใช้แรงงาน กลุ่มนี้มีรายได้ไม่สูงมากนัก ดังนั้น สินค้าสําหรับกลุ่มนี้ต้องราคาไม่
แพง เป็นสินค้าที่ใช้ในชีวิตประจําวัน หากเจาะที่กลุ่มวัยรุ่นอาจเป็นสินค้าประเภทเครื่องประดับ เครื่องแต่ง
กาย เช่น เสื้อยืด 2 ตัว 100 หรือเครื่องประดับชิ้นละ 29 บาท เป็นต้นการโฆษณา ควรใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย
ไม่ซับซ้อน ใช้เสียงเพลงและดนตรีประกอบ
5) อาชีพอื่นๆ เช่น เเพทย์ นักกฎหมาย ครู เเต่ละกลุ่มวิชาชีพจะมีความเเตกต่างกันหลายๆ ด้าน
นักการตลาดจึงต้องศึกษาเกี่ยวกับความต้องการด้านจิตวิทยา เเละวัฒนธรรมของเเต่ละกลุ่มอาชีพก่อนการ
เสนอสินค้า