Page 159 - โครงการสื่ออิเล็กทรอนิกส์เนย
P. 159

หน้าที่ 156
















                    2) ลักษณะด้านจิตวิทยา ชาวชนบทมักมีชีวิตอยู่ตามธรรมชาติ ยอมรับบุญกรรมโดยไม่โต้แย้ง
           เชื่อถือโชคลาง รักญาติพี่น้อง ชอบเสี่ยงโชค นิยมเครื่องประดับ ชอบความสันโตษซึ่งแตกต่างไปจากชาวเมือง

           หรือชาวกรุงเทพฯ ซึ่งจะเชื่อในเรื่องเหตุและผล รีบเร่งเรื่องเวลามีการแข่งขันกันสูง ยกย่องผู้มีตําแหน่ง
           อํานาจ ไม่รักของส่วนรวม ไม่ชอบเห็นใครเหนือกว่าฟุ่มเฟือยและหรูหรา พูดมากกว่าทํา จากที่กล่าวมามี

           พฤติกรรมบางอย่างจะต้องแก้ไข ซึ่งนักการตลาดสามารถใช้การโฆษณาและการส่งเสริมการขายเข้าไปแก้ไข
           พฤติกรรมเหล่านั้นได้
                      3) กลยุทธ์ด้านผลิตภัณฑ์ การผลิตผลิตภัณฑ์เข้าสู่ตลาดต้องคํานึงถึงค่านิยมของกลุ่มด้วยชาว

           ชนบทนิยมสินค้าที่สนองความต้องการ ด้านการยอมรับและการยกย่อง เช่น เครื่องประดับที่ทําด้วยทองคํา
           นิยมซื้อสินค้าเลียนแบบ เช่น เมื่อบ้านหนึ่งมีทีวีสี ตู้เย็น รถมอเตอร์ไซค์ บ้านอื่นก็จะพยายามซื้อสินค้า

           เหล่านั้นบ้างเพื่อให้ทัดเทียมกัน สําหรับชาวกรุงเทพฯ จะซื้อสินค้าที่ตอบสนองความต้องการด้านการยอมรับ
           และการยกย่องเช่นเดียวกัน แต่สินค้าที่ซื้อจะเป็นสินค้าประเภทเจาะจงซื้อ ราคาสูง เช่น รถยนต์ แหวนเพชร
           เครื่องแต่งกายยี่ห้อดัง เพื่อเชิดหน้าซูตา

                    4) กลยุทธ์ด้านการส่งเสริมการตลาด การโฆษณาสําหรับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นชาวชนบทควรเป็น
           ภาษาท้องถิ่น ใช้กลุ่มอ้างอิงในการแสดง ภาพยนตร์โฆษณาที่เป็นกลุ่มอิทธิพลของกลุ่มนั้น ๆเช่น ผู้ใหญ่บ้าน

           หรือผู้มีอันจะกินที่รู้จักกันดี สําหรับสื่ํํอโฆษณาที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นชาวกรุงเทพฯโครงสร้างของข่าวสาร
           โฆษณาควรชักจูงใจด้านอารมณ์ และสร้างภาพลักษณ์ที่ดีใหกับผลิตภัณฑ์












           ภาพที่ 6.3 กลยุทธ์ด้านการตลาด
   154   155   156   157   158   159   160   161   162   163   164