Page 83 - e-book Health Knowledge Articles
P. 83

สร้างสุขภาพผู้สูงอายุ.....ด้วยหลัก 3 อ.

                       ปัจจุบันสังคมไทยมีผู้สูงอายุจำนวน 11.2 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 17 ของประชากร
               ไทยทั้งหมด โดยในจำนวนผู้สูงอายุ จำนวน 11.2 ล้านคน มีผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่คนเดียวจำนวน

               9 แสนคน คิดเป็นร้อยละ 8.7 และในจำนวนผู้สูงอายุทั้งหมดนี้ ร้อยละ 95 เจ็บป่วยด้วยโรค
               และปัญหาสุขภาพ มีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์เพียงร้อยละ 26 มีภาวะสมองเสื่อมร้อยละ
               8.1 มีผู้สูงอายุเข้าถึงระบบบริการสุขภาพเพียงร้อยละ 56 ดังนั้นการสร้างสุขภาพที่ดีให้กับ
               ผู้สูงอายุด้วยตัวผู้สูงอายุเอง ต้องได้รับการดูแลช่วยเหลือจากบุตรหลาน ญาติหรือคนใกล้ชิด

                      การสร้างสุขภาพที่ดีให้กับผู้สูงอายุจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก ทำได้ด้วยหลัก 3 อ. คือ อ.
               อาหาร อ. ออกกำลังกาย และ อ. อารมณ์ การส่งเสริมสุขภาวะที่ง่ายที่สุด คือ การใช้หลักการ
               ปฏิบัติตัว เช่น รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และช่วยบำรุงเซลล์สมอง หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด
               หวาน มัน เค็ม  เพิ่มผักและผลไม้ เพื่อระบบย่อยอาหาร ดื่มนมวันละ 1-2 แก้ว ดื่มน้ำวันละ 8

               แก้ว ไม่ควรให้ผู้สูงอายุดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
                      การจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพให้กับผู้สูงอายุ เนื่องจากเซลส์เนื้อเยื่อและอวัยวะต่าง ๆ
               ของผู้สูงอายุเสื่อมลงตามธรรมชาติ ทำให้เกิดโรคความเสี่ยงของอวัยวะตามมา  ฝึกให้ผู้สูงอายุ
               เคลื่อนไหวกล้ามเนื้ออย่างน้อยวันละ 30 นาที สัปดาห์ละ 5 วัน ด้วยวิธีการอย่างเช่น เดิน ปั่น

               จักรยาน หรือรำมวยจีน การออกกำลังกายเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ซึ่งอ่อนโรยไปตามวัย
               แม้แต่ผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง ซึ่งจะต้องดูแลเอาใจใส่เป็นพิเศษ จำเป็นต้องกระตุ้นให้เคลื่อนไหว
               เท่าที่ทำได้ ส่วนผู้สูงอายุที่หกล้มควรรักษาอาการเจ็บป่วยที่มีอยู่เดิมก่อน แก้ไขปัญหาสายตา
               ปรับสภาพแวดล้อมให้ปลอดภัย อย่างไรก็ตาม ในช่วงอากาศร้อน ให้ระวังการออกกำลังกายใน

               สถานที่อากาศร้อนอบอ้าว ควรสวมใส่เสื้อผ้าที่ระบายความร้อนได้ เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้สูงอายุเกิด
               อาการโรคลมแดดหรือโรคฮีท  สโตรก หรืออาจจะหาวิธีการออกกำลังกายใหม่ๆ เพื่อบริหาร
               ร่างกายและสมองที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ   โดยประยุกต์จากสิ่งที่มีในท้องถิ่น เช่น การใช้
               กะลามะพร้าวและยางวงรัดของมาทำเป็นอุปกรณ์ออกกำลังกาย เพื่อสร้างความแข็งแรงของ

               กระดูก ข้อต่อ และกล้ามเนื้อ การประยุกต์ท่าทางการออกกำลังกาย ใช้เพลงพื้นเมือง หรือเพลงที่
               ผู้สูงอายุฟังจนชินหู สามารถร้องตามได้ เช่น ท่ารำจังหวะไม่เร็วมากนัก มาเป็นท่าบริหาร สมอง
               ช่วยให้สมองซีกซ้ายและซีกขวาทำงานประสานกันได้ดี เป็นต้น

                      ส่งเสริมสุขภาพทางจิตใจของผู้สูงอายุ โดยจัดสภาพแวดล้อมให้ผู้สูงอายุอยู่ในสถานที่ที่มี
                 อากาศสดชื่น



                                                                                            77
   78   79   80   81   82   83   84   85   86   87   88