Page 95 - e-book Health Knowledge Articles
P. 95

เด็กไทยสุขภาพดี รู้หน้าที่พลเมืองไทย


                      “เด็กไทยยุคใหม่ รู้รักสามัคคี รู้หน้าที่พลเมืองไทย “คำขวัญวันเด็ก ปี พ.ศ.2563 คำว่า
               หน้าที่พลเมืองไทย สำหรับเด็กนอกจากการตั้งใจเรียนหนังสือ การเป็นคนดีของสังคม กตัญญูต่อ
               บิดา มารดา ครู อาจารย์ และผู้มีพระคุณ สิ่งที่สำคัญอีกอย่าง คือ การดูแลสุขภาพตัวเองให้ดีเพื่อ

               ร่างกายที่แข็งแรงพร้อมเรียนรู้ในสิ่งต่าง ๆ ในการดำเนินชีวิได้อย่างมีคุณภาพ
                      จากการสำรวจสุขภาพเด็กไทยครั้งล่าสุดในปี 2557 พบว่า เด็กอายุ 1-5 ปี มีภาวะเตี้ย
               กว่าเกณฑ์ร้อยละ 5.7 น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ร้อยลุ 5.5 มีภาวะเริ่มอ้วนและอ้วนร้อยละ 11.3

               เด็กอายุ 6-14 ปี มีภาวะเตี้ยกว่าเกณฑ์ร้อยละ 2.3 น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ร้อยละ 3.3 ผอมร้อย
               ละ 4.9 มีน้ำหนักเกินและอ้วนร้อยละ 13.9 ส่งผลต่อการเรียนรู้ ระดับสติปัญญา (IQ)
               การเจ็บป่วยในอนาคตได้
                      จากการเก็บรวบรวมข้อมูลพฤติกรรมสุขภาพของเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่

               4 - มัธยมศึกษาปีที่ 3  ในปี 2562 ครอบคลุมพื้นที่ 12 เขตสุขภาพทั่วประเทศ จำนวน
               4,800 คน พบว่าใน 4 -7 วันต่อสัปดาห์  ร้อยละ 42.96 ไม่ได้แปรงฟันซ้ำก่อนเข้านอนหลังกิน
               อาหาร เด็กกินอาหารครบ 5 หมู่ทุกวันมีเพียงร้อยละ 22.92 กินผักผลไม้เป็นอาหารว่างแทน
               ขนมที่มีแป้งน้ำตาลทุกวันมีเพียงร้อยละ 18.75 มีพฤติกรรมดื่มน้ำอัดลม และเครื่องดื่มที่มี รส

               หวาน 3-7 วันต่อสัปดาห์สูงถึงร้อยละ 65.71 และมีพฤติกรรมดื่มสุรา สูบหรี่ หรืออยู่ใกล้กับผู้ที่
               กำลังสูบบุหรี่ร้อยละ 35.71 มีพฤติกรรมออกกำลังกาย วิ่งเล่นอย่างน้อย 60 นาทีต่อวัน 4-7
               วันต่อสัปดาห์เพียงร้อยละ 47.67 และมีพฤติกรรมการนั่งหรือนอนดูทีวี เล่นเกมมากกว่า 2
               ชั่วโมงขึ้นไป 4-7 วันต่อสัปดาห์สูงถึงร้อยละ 40.46 ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้ล้วนเป็นพฤติกรรมที่

               ส่งผลเสียต่อสุขภาพและรูปร่างของเด็ก
                      สาเหตุของปัญหารูปร่างไม่สมส่วน ส่วนใหญ่มาจากการเลี้ยงดูของครอบครัว และอีก
               สาเหตุมาจากพฤติกรรมส่วนบุคคลของเด็ก ซึ่งในเด็กโตมีความสามารถดูแลสุขภาพของตัวเองได้

               แต่ยังมีพฤติกรรมไม่ดีเท่าที่ควร ดังนั้น จะต้องปลูกฝังและสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง
               โดยเฉพาะในเด็กและเยาวชนตั้งแต่เยาว์วัยด้วยการปฏิบัติตนอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่องจนเป็นสุข
               นิสัย โดยการปฏิบัติตามแนวทางสุขบัญญัติแห่งชาติ 10 ข้อ ดังนี้
                      1. ดูแลรักษาร่างกายและของใช้ให้สะอาด อาบน้ำให้สะอาดทุกวัน โดยการฟอกสบู่ให้
                         ทั่วร่างกายล้างด้วยน้ำสะอาด และเช็ดตัวให้แห้ง หมั่นสระผมเป็นประจำ เช็ดผมให้

                         แห้งทุกครั้งด้วยผ้าสะอาด  ตัดเล็บมือ


                                                                                            89
   90   91   92   93   94   95   96   97   98   99   100