Page 226 - ธรรมะบรรยาย2564
P. 226
๐๙๑ ธรรมะบรรยาย
ท่านเจ้าคุณ พระราชปัญญาวชิโรดม
๑๑ มิถุนายน ๒๕๖๔
เจริญพรทุก ๆ ท่าน กลับมาแล้ว ท่านทั้งหลายตื่นนอนกันหรือยังหนอ แหมสมาธิไสยาสน์ สีห
ไสยาสน์นี่น่าจะหลับลึก ก็ต้องทำ ๔ อย่าง เรียกว่า เดิน ยืน นั่ง และนอน พระพุทธเจ้าไม่ให้ทรมาน
ร่างกายจนเกินไป การทรมานร่างกาย ท่านทำมามากแล้ว อดอาหารก็อดมาแล้ว อดนอนก็อด
ี
มาแล้ว เรยกว่า ทำแบบแสนสาหัสที่สุด และท่านก็บอกว่า อันนี้มันทรมานร่างกายมากเกินไปแล้ว
ถ้าร่างกายทุพพลภาพแล้วใช้การไม่ได้และจะปฏิบัติธรรมได้อย่างไร มันก็ต้องสมบูรณ์ เดินได้ นั่งได้
นอนได้ ยืนได้ มันถึงจะสมบูรณ์แบบ ถ้าหากว่าร่างกายมันทุพพลภาพแล้ว จะทำอะไรไม่สะดวก
เมื่อเช้านี้ พระอาจารย์เดินไปห้องคอมพิวเตอร์ ห้องที่ท่านโกสินทร์ควบคุมเครื่องอยู่ ในขณะ
นั้นก็ไปเจอนกตัวหนึ่ง โอ้ สวยมาก เดี๋ยวจะถ่ายลงในกลุ่มสมาธิสัญจรออนไลน์ สีสวยมากนึกว่าเป็น
ลูกนก ก็ไปจับเขา เขาก็ไม่บินหนีจับและลองไปใส่กรงดูลองดูสิ เอ้า มันบินได้ พอบินได้ ก็จับใหม่อีก
เที่ยวนี้ เขาไม่ยอมให้จับ บินเลย บินตลอดเลย ก็คิดในใจว่า โอ้ พระพุทธเจ้าท่านทรงเปรียบเทียบ
ให้พระสงฆ์ได้ปฏิบัติธรรมเรื่องสมาธินี่ ท่านบอกว่าการปฏิบัติธรรมสมาธิ ถ้าหากว่าไม่ทำสายกลาง
เปรียบเหมือนกับการจับนก ถ้าจับมันแน่น มันก็จะทุรนทุรายต่อสู้ และมันก็จะอึดอัด มันจะอยู่
ไม่ได้ ดิ้นไปดิ้นมา มันอยากจะออกเพราะว่ามันแน่นเกินไป กำแน่นมันก็บินออกไม่ได้ กำหลวมมันก็
บินออกไปได้ ต้องกำพอดี พอดีมันไม่อึดอัดและมันก็ไม่หลวมเกินไป
ถ้าเป็นเช่นนี้ มันก็อยู่ในกำมือเรา เปรียบเสมือนใจของเรา บังคับมันมากเกินไปไม่ดี บังคับว่า
้
ทำไมมันไม่สงบ ทำไมมันไม่นิ่ง ทำไมไม่เกิดความปีติ ทำไมไม่เกิดความอิ่มเอิบเลย เอา เร็ว ๆ โอ้
บังคับจิตมากเกินไป มันก็ต่อต้าน เกิดอึดอัดมากเกินไป ถ้าบังคับจิตมากเกินไป มันจะทำให้เกิด
อาการฟุ้งซ่าน แต่ถ้าหากว่าไม่บังคับมันเลย ปล่อยมันนึก มันจะนึก มันก็จะคิดไปทางไหนก็ปล่อย
ให้มันคิดไปเรื่อย ๆ อันนี้ก็ใช้ไม่ได้ มันก็จะไปของมันเรื่อย ๆ อันนี้ก็ใช้ไม่ได้ มันก็จะไปของมันหลาย
ทิศทาง แทนที่จะเอาสิ่งดี ๆ เข้าสู่จิต ก็ไปเอาขยะมาล่ะทีนี้ เอาความเบื่อมา เอาความเซ็งมา ความ
ขี้เกียจมา ความกังวลมา แทนที่จะเป็นจิตที่ดี กลับกลายเป็นจิตที่กระสับกระส่าย วุ่นวายไปใหญ่
์
เรียกว่าไปเอาขยะมาสู่จิต ก็เลยกลายเป็นหมักหมม พอมักหมมมาก กลายเป็นอารมณเน่า เที่ยวนี้ก็
แฟ่บ
๒๒๖