Page 186 - สรป 4Y กมธ กิจการเด็กฯ ชุด 25
P. 186
หน้า ๑๗๔ ส่วนที่ ๓
๑. ควรปฏิรูปกฎหมายด้วยการยกระดับระบบกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิในการใช้ชื่อของบุคคล
บนพื้นฐานของหลักการก าหนดเจตจ านงของตนเอง (Self Determination)
ื่
๒. ควรมีข้อเสนอแนะต่อกรมการปกครองเพอผลักดันให้เกิดการด าเนินงานเชิงรุกในการส ารวจ
บุคคลที่ตกหล่นทางทะเบียนราษฎร
ั
ื่
๓. ควรมีการจัดสรรงบประมาณส าหรับการตรวจสารพนธุกรรม หรือดีเอ็นเอ (DNA) เพอใช้
เป็นหลักฐานในการพิสูจน์สถานะและสัญชาติของบุคคล
เพื่อให้การพิจารณาของคณะกรรมาธิการเป็นไปอย่างรอบคอบได้เชิญอธิบดีกรมการปกครอง
ร่วมประชุมกับคณะกรรมาธิการ โดยผู้แทนอธิบดีกรมการปกครองให้ข้อมูลว่า กรมการปกครองมีภารกิจ
เกี่ยวกับคนไม่มีสัญชาติไทย คนไร้รัฐ ไร้สัญชาติ ในบริบทของผู้รับนโยบายมาปฏิบัติ โดยผ่านการกลั่นกรอง
ของสภาความมั่นคงแห่งชาติ รวมทั้งการปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.
๒๕๐๘ พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒ พระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. ๒๕๓๔ การ
ิ
ด าเนินงานดังกล่าวนอกจากจะต้องค านึงถึงหลักสิทธิมนุษยชนแล้ว ยังต้องพจารณาถึงความมั่นคง ความ
ปลอดภัยทางสังคม ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ ได้แก่ ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอ าเภอ ปลัดอ าเภอ
การด าเนินงานเกี่ยวกับคนที่ไม่มีสัญชาติไทย หรือคนไร้รัฐ ไร้สัญชาติ สามารถจ าแนกออกเป็น
๒ กลุ่ม ได้แก่
๑) กลุ่มของบุคคลที่ไม่มีสัญชาติไทยที่มีจ านวนกว่า ๙๐๐,๐๐๐ คน จ าแนกออกเป็น ชนกลุ่มน้อย
หรือกลุ่มชาติพันธุ์ประมาณ ๔๘๑,๐๐๐ คน บุคคลที่อพยพเข้ามาประมาณ ๓๔๐,๐๐๐ คน และบุคคลที่เกิด
บนแผ่นดินไทยประมาณ ๑๓๑,๐๐๐ คน
๒) กลุ่มคนต่างด้าว ๔๓๕,๐๐๐ คน ซึ่งเป็นกลุ่มคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ใน
ิ
ประเทศไทย และกลุ่มที่เกิดในประเทศไทยประมาณ ๒๕๐,๐๐๐ คน รวมถึงกลุ่มคนไร้รัฐที่ไม่สามารถพสูจน์ตน
หรือกลุ่มคนที่อพยพเข้ามา หรือหลบหนีเข้าเมือง ประมาณ ๗๘,๐๐๐ คน
กรมการปกครอง บริหารจัดการแก้ไขปัญหาบุคคลไร้รัฐ ไร้สัญชาติ ตามการจ าแนกกลุ่มคน
เช่น กลุ่มผู้อพยพเข้าเมือง จะด าเนินการตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒ พระราชบัญญัติ
สัญชาติ พ.ศ. ๒๕๐๘ พระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. ๒๕๓๔ ส่วนกลุ่มที่เกิดในประเทศไทย
ก็จะเป็นอีกแนวทางหนึ่ง ซึ่งเป็นไปตามที่กฎหมายว่าด้วยการนั้นก าหนด หรือตามนโยบายของรัฐบาลหรือ
สภาความมั่นคงแห่งชาติมอบหมายมาให้ในภาพรวม
คณะกรรมาธิการมีข้อสังเกตต่อกรมการปกครองในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
๑. สถานะของบุคคลที่ไม่เท่ากัน เกี่ยวกับสถานการณ์ของการที่บุคคลหลุดออกจากการรับรอง
สถานะบุคคลตามกฎหมาย ตามโครงสร้างทางกฎหมาย จนตกเป็นคนไร้รัฐ ไร้สัญชาติ หรือเสมือน
ทั้ง ๑๑ ประเภท
๒. จากการน าเสนอของผู้ยื่นข้อเสนอ สะท้อนปัญหาของกลุ่มเป้าหมายที่อยู่ภายใต้ภารกิจของ
คณะกรรมาธิการ ๓ กลุ่ม ได้แก่ (๑) กลุ่มเด็กที่มีปัญหาเรื่องสถานะ ที่เรียกว่า “เด็กรหัสจี” ที่อยู่ในระบบ
ของกระทรวงศึกษาธิการ (๒) กลุ่มผู้สูงอายุ จากกรณีตัวอย่างของบุคคลที่ชื่อถูกย้ายไปอยู่ในทะเบียนบ้าน
กลาง และ (๓) กลุ่มชาติพันธุ์ ที่มีรายละเอียดปัญหาของแต่ละกลุ่มและแต่ละพื้นที่แตกต่างกัน
๓. สถานภาพของบุคคลตามกฎหมายมหาชนเกี่ยวข้องกับสิทธิอยู่หลายประการด้วยกัน
โดยเฉพาะสิทธิด้านการสาธารณสุข และสิทธิด้านการศึกษา