Page 229 - สรป 4Y กมธ กิจการเด็กฯ ชุด 25
P. 229
ส่วนที่ ๓ หน้า ๒๑๗
ซึ่งมีกระบวนการและเอกสารที่ยุ่งยาก ท าให้ส่งผลต่อการตัดสินใจ
เดินทางเข้ามาท่องเที่ยว จึงมีข้อเสนอแนะให้ทบทวนเงื่อนไขการให้วีซ่า
ทั้งนี้ คณะกรรมาธิการฯ ได้รับทราบและจะน าข้อมูลไปประกอบการ
พิจารณาในชั้นต่อไป รวมทั้งมีข้อเสนอแนะให้ส่งเสริมการประชาสัมพันธ์
ภาพลักษณ์ที่ดีของการท่องเที่ยวพัทยา และผู้มีความหลากหลายทางเพศ
พร้อมทั้งสนับสนุนการสร้างความสะดวกสบายในการดูแลนักท่องเที่ยว
ต่างชาติ เช่น อาหารที่ได้มาตรฐานตามหลักศาสนาอิสลาม เป็นต้น
๒. กลุ่มแรงงานที่มีความหลากหลายทางเพศปัญหาสุขภาพ จากการแปลงเพศ แต่ขาดความรู้
ในการดูแลสุขภาพในระยะยาว และศูนย์บริการข้อมูลสุขภาพที่ถูกต้องยังมีน้อย รวมถึงการป้องกันโรคติดต่อ
ต่าง ๆ โดยมูลนิธิซิสเตอร์ถือเป็นหน่วยงานส าคัญที่มีบทบาทในการให้ค าแนะน าปรึกษาด้านสุขภาพ
๓. ในปัจจุบันปัญหาด้านสิทธิมนุษยชน ในด้านนโยบายอาจจะยังได้รับการปรับปรุงและพัฒนา
ิ
มากขึ้น แต่ยังคงขาดการรับรองเพศสภาพ ซึ่งเป็นประเด็นที่คณะกรรมาธิการฯ จะน าไปพจารณาหารือ
ในชั้นต่อไป อย่างไรก็ตาม ด้านการให้บริการและปฏิบัติต่อกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศได้รับการแก้ไข
และความร่วมมือที่ดีจากหน่วยงานต่าง ๆ ของภาครัฐ ทั้งนี้ ในบางสถานบันเทิงหรือร้านอาหารบางแห่ง
ยังคงมีการเลือกปฏิบัติในการให้บริการกลุ่มคนข้ามเพศบ้าง
๔. เมืองพทยาได้ให้ความส าคัญ การสนับสนุนและเปิดโอกาสให้กลุ่มผู้มีความหลากหลาย
ั
ทางเพศด าเนินการจัดกิจกรรมและเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ
มาโดยตลอด เนื่องจากเล็งเห็นถึงความสามารถและเคารพ
ในสิทธิเสรีภาพของทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน
๕. นอกจากนี้ หน่วยงานภาคเอกชนได้หารือ
เรื่อง การสงเคราะห์เด็กและสตรีที่ด้อยโอกาส หรือประสบปัญหา
ด้านหลักประกันและความมั่นคงในชีวิต ซึ่งพบอุปสรรคต่าง ๆ
ทั้งทางการเงิน การเดินทางและการสื่อสารในการประสานงาน
ระหว่างหน่วยงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการประสานขอความ
ช่วยเหลือจากต่างประเทศ ในการนี้ จึงขอความอนุเคราะห์ให้
ื่
คณะกรรมาธิการฯ ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพอหาแนวทางการด าเนินการประสานขอรับ
การช่วยเหลือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศและต่างประเทศ ที่สะดวก รวดเร็วและเป็นรูปธรรม