Page 56 - สรป 4Y กมธ กิจการเด็กฯ ชุด 25
P. 56

หน้า ๔๔                                                                              ส่วนที่ ๓



                           เมื่อปี ๒๕๓๕ ได้มีการประชุมร่วมกันของหน่วยงานราชการเกี่ยวกับข้อสงวนข้อที่ ๒๒

               ของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก โดยมีความเห็นว่า ข้อที่ ๒๒ ยังมีเหตุผลบางประการที่ขัดกับนโยบาย
               และผลประโยชน์ของประเทศไทยเกี่ยวกับผู้อพยพและผู้หลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย และเห็นว่า

                                                                      ื่
               อาจเป็นการเพิ่มภาระของรัฐบาลในการจัดสรรงบประมาณเพอดูแลบุคคลเหล่านั้น จึงเป็นสาเหตุของการ
               ตั้งข้อสงวนดังกล่าว อย่างไรก็ตาม การตั้งข้อสงวนดังกล่าวนั้นเป็นไปตามอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วย
               สนธิสัญญา ค.ศ. ๑๙๖๙ ที่กล่าวว่า สามารถกระท าได้ทั้งในลักษณะของการตีความสนธิสัญญา หรือการตั้ง

               ข้อสงวน ซึ่งในภาคยานุวัติสารของไทยได้ใช้ถ้อยค าว่า “The application of articles 22 and 29 of the
               Convention on the Right of the Child shall be subject to the national laws, regulations

               and prevailing practices in Thailand.” ซึ่งหมายความว่า “ประเทศไทยจะปฏิบัติตามข้อ ๒๒ และ ๒๙
               ของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ภายใต้กฎหมายภายใน กฎ ระเบียบที่เกี่ยวข้อง และทางปฏิบัติของประเทศไทย”
                                                                                             ิ
                           ภารกิจหน้าที่ของกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย คือ หน่วยงานที่จะช่วยพจารณาว่าในการ
               ปฏิบัติตามอนุสัญญาหรือพันธกรณีระหว่างประเทศแต่ละฉบับนั้น จะต้องมีการออกกฎหมายเพื่อมารองรับ
               การปฏิบัติตามหรือไม่ ซึ่งกรมสนธิสัญญาและกฎหมายจะจัดท าข้อเสนอไปยังหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง

                                                                                       ี
               เพื่อให้ด าเนินการตรวจสอบกฎหมาย กฎ ระเบียบ และทางปฏิบัติของตน ว่ามีเพยงพอต่อการปฏิบัติตาม
                 ั
               พนธกรณีหรือไม่ จากนั้นก็จะเป็นหน้าที่ของหน่วยงานผู้ปฏิบัติที่จะต้องด าเนินการให้ครบถ้วน มิฉะนั้น
               จะส่งผลให้เกิดปัญหาในทางระหว่างประเทศซึ่งเป็นไปตามหลักสนธิสัญญาจะต้องได้รับการปฏิบัติตาม

               (The Principle Pacta Sunt Servanda) ด้วยเหตุนี้ การที่ส านักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ ได้ชี้แจง
               ถึงความไม่พร้อมในการถอนข้อสงวนไว้ด้วยเหตุเพราะการปฏิบัติและกฎหมายภายในประเทศที่ยังไม่

               สอดคล้องกับสนธิสัญญา และด้วยเหตุความเปราะบางเกี่ยวกับผู้ที่มีความเสี่ยงสูงนั้น จึงเป็นเรื่องที่
               คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ ควรจะหยิบยกขึ้นมาพิจารณาถึงแนวทางในการ

               ขจัดข้อกังวลดังกล่าว เพื่อให้การปฏิบัติตามอนุสัญญาเป็นไปอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ต่อไป
                           นอกจากนี้ กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย ได้ตั้งข้อสังเกตไว้ว่า แต่ละประเทศย่อมมีสิ่งที่ยึดถือ
               หรือกังวลไม่เหมือนกัน ซึ่งเป็นไปตามบริบทของสภาพแวดล้อม ทางภูมิศาสตร์ เศรษฐกิจ สังคม และการเมือง

               ของแต่ละประเทศ จึงท าให้การตีความสนธิสัญญา หรือการตั้งข้อสงวนสนธิสัญญาของแต่ละประเทศมีความ
                                        ิ
               แตกต่างกันไป ฉะนั้น เมื่อพจารณาตามภูมิรัฐศาสตร์ของประเทศไทยจะพบว่า ประเทศไทยต้องรับภาระ
               ด้านผู้อพยพจ านวนมาก ซึ่งบางกรณีอยู่ระหว่างการเจรจากับประเทศต้นทางหรือประเทศปลายทางเพอให้
                                                                                                         ื่
               รับตัวเด็กผู้อพยพ เพอไม่ให้ต้องเผชิญกับภัยจากการประหัตประหาร จึงเป็นที่มาที่ว่าท าไมประเทศไทย
                                  ื่
               จึงยังคงไว้ซึ่งข้อสงวนดังกล่าว ทั้งนี้ ได้มีข้อสังเกตในประการอื่นอีกว่า การถอนค าแถลงตีความความเข้าใจ

               หรือการถอนข้อสงวนดังกล่าว อาจจะท าให้เกิดข้อโจมตีเกี่ยวกับระเบียบส านักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วย
               การคัดกรองคนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรและไม่สามารถเดินทางกลับประเทศอันเป็นภูมิล าเนาได้

                                                                                      ื่
                                              ั
               พ.ศ. ๒๕๖๒ ที่ยังไม่เป็นไปตามพนธกรณีอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ จึงเห็นว่า เพอให้เกิดการแก้ไขปัญหา
               ในทางปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม ระเบียบส านักนายกรัฐมนตรีฉบับดังกล่าว ควรมีการระบุไว้อย่างชัดเจน
               ในข้อ ๑๕ ว่า “...ห้ามส่งตัวคนต่างด้าวนั้นออกไปนอกราชอาณาจักร เมื่อมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าจะมีภัย

               จากการประหัตประหาร” หรือหากจะต้องชะลอการส่งตัวในกรณีทั่วไปก็ควรระบุเป็นข้อยกเว้นไว้ว่า
               “เว้นแต่ เหตุที่เป็นไปตามพนธกรณีระหว่างประเทศ” เช่นนี้จะส่งผลให้ปฏิบัติจะได้สามารถปฏิบัติหน้าที่
                                        ั
               โดยอ้างความชอบธรรมตามกฎหมายได้ ซึ่งกรณีที่กฎหมายไม่ระบุไว้โดยชัดแจ้ง ก็สร้างความล าบากใจให้แก่
               ผู้ปฏิบัติ และเป็นผลเสียต่อภาพลักษณ์ของประเทศไทยด้วยเช่นกัน
   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61