Page 53 - สรป 4Y กมธ กิจการเด็กฯ ชุด 25
P. 53
ส่วนที่ ๓ หน้า ๔๑
พิจารณาศึกษาความเป็นไปได้ในการถอนข้อสงวนในอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ข้อที่ ๒๒
ั
ิ
คณะกรรมาธิการกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พการ กลุ่มชาติพนธุ์ และผู้มี
ความหลากหลายทางเพศ ได้พจารณาเรื่องร้องเรียนจากเครือข่ายสิทธิผู้ลี้ภัยและคนไร้รัฐ ร่วมกับองค์กร
ิ
ื่
เครือข่าย (The Coalition for the Rights of Refugees and Stateless Persons : CRSP) เพอสนับสนุน
ิ
เรื่องการถอนข้อสงวนข้อ ๒๒ ของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ซึ่งคณะกรรมาธิการได้พจารณาเรื่องดังกล่าว
อย่างระมัดระวัง เพราะเห็นว่าบางประเด็นอยู่บนพื้นฐานที่ฝ่ายความมั่นคงของรัฐด าเนินการอยู่เพื่อผลประโยชน์
ของประเทศชาติ
ประเทศไทยเป็นเพยงประเทศเดียวในจ านวน ๑๙๖ ประเทศที่เป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วย
ี
สิทธิเด็ก ที่ยังไม่ถอนข้อสงวนข้อที่ ๒๒ เช่นรัฐภาคีอื่น ๆ ที่ได้เคยตั้งข้อสงวน ได้ถอนข้อสงวนดังกล่าวแล้ว
โดยที่คณะกรรมการอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก แนะน าให้ประเทศไทยพจารณาถอนข้อสงวนข้อ ๒๒ ได้ระบุ
ิ
ในข้อสังเกตเชิงสรุป (Concluding observations ) ต่อรายงานประเทศไทย ครั้งที่ ๑ ภายใต้ข้อ ๔๔ แห่ง
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก โดยระบุว่า “คณะกรรมการสนับสนุนให้รัฐภาคีพจารณาความเป็นไปได้ในการ
ิ
ทบทวนการถอนข้อสงวน” และข้อสังเกตเชิงสรุป (Concluding observations ) ประเทศไทยได้ท าการ
ถอนข้อสงวนข้อที่ ๗ เรื่องสิทธิในการจดทะเบียนการเกิด มีผลในวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๕๓ แต่ยังคง
ข้อสงวนข้อที่ ๒๒ เอาไว้ และระบุในรายงานครั้งต่อ ๆ มา อีกว่า “คณะกรรมการแนะน าให้รัฐภาคีถอนข้อสงวน
ในข้อ ๒๒ และด าเนินมาตรการที่จ าเป็นทั้งปวงเพื่อคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือผู้แสวงหาการลี้ภัยและผู้ลี้ภัย
ที่เป็นเด็ก” ซึ่งประเทศไทยมีมาตรการภายในเพื่อบริหารจัดการและคุ้มครองเด็กหรือบุคคลที่อยู่ในสถานะ
ผู้ลี้ภัยอยู่แล้ว อันเป็นการแสดงให้เห็นถึงความยอมรับของรัฐบาลไทยต่อการมีตัวตัวของเด็กผู้ลี้ภัย
มาตรการหรือกฎหมายภายในประเทศ
การภาคยานุวัติสารเพื่อเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กของประเทศไทย ได้ใช้ถ้อยค าว่า
“การใช้บังคับในข้อที่ ๒๒ ของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ให้อยู่ภายใต้กฎหมายภายใน กฎ ระเบียบ
ั
ข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง และทางปฏิบัติของประเทศไทย” ทั้งนี้ การให้ความคุ้มครองเด็กที่ขอสถานะผู้ลี้ภยนั้น
คณะกรรมการว่าด้วยสิทธิเด็กของสหประชาชาติ (United Nations Committee on the Right of the
่
Child: CRC) ได้มีข้อวินิจฉัย (General comments) เกี่ยวกับการดูแลเด็กที่พลัดพรากจากพอแม่หรือไม่มี
ผู้ปกครองมาด้วยนอกประเทศที่เป็นภูมิล าเนา (Treatment of unaccompanied and separated children
outside their country of origin) ไว้ในข้อ (f) ว่ารัฐจะต้องให้ความเคารพต่อหลักการ Non - refoulement
หรือหลักการห้ามผลักดันกลับไปเผชิญอันตราย อีกทั้งยังปรากฏในข้อที่ ๓๓ ของอนุสัญญาว่าด้วย
สถานภาพผู้ลี้ภัย (The 1951 Refugee Convention) ซึ่งประเทศไทยไม่ได้เข้าเป็นภาคีของอนุสัญญาฉบับ
ดังกล่าว อย่างไรก็ตาม หลักการ Non - refoulement ได้มีสถานะเป็นกฎหมายประเพณีระหว่างประเทศ
(Customary International Law) และกฎหมายบังคับเด็ดขาด (Peremptory norms หรือ Jus Cogens)
ที่เราไม่สามารถที่จะละเมิดพันธกรณีได้ไม่ว่าจะด้วยกรณีใด ๆ และยังเป็นไปตามข้อที่ ๓ ของอนุสัญญาว่าด้วย
การต่อต้านการทรมาน และการกระท าอื่น ๆ ที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ ายีศักดิ์ศรี (Convention
Against Torture and other Cruel, Inhuman or Degrading Treatment or Punishment: CAT)