Page 57 - สรป 4Y กมธ กิจการเด็กฯ ชุด 25
P. 57

ส่วนที่ ๓                                                                            หน้า ๔๕



                                                                                           ั
                           ในประเด็นการเคารพหลักการ Non - refoulement (หลักการไม่ส่งผู้ลี้ภยกลับไปยังดินแดน
               หรือถิ่นที่ชีวิตและเสรีภาพของพวกเขาจะถูกคุกคาม) ได้มีการหยิบยกขึ้นมาหารือหลายครั้งในชั้นของ
               คณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งกรมสนธิสัญญาและกฎหมายได้เคยให้ความเห็นว่า ค ากริยา “ชะลอ” ที่ใช้
               ในระเบียบส านักนายกรัฐมนตรีฉบับดังกล่าว ไม่ได้สะท้อนถึงหลักการ Non - refoulement อย่างแท้จริง

               ถึงแม้ว่าประเทศไทยเป็นภาคีของอนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการทรมาน และการกระท าอื่น ๆ ที่โหดร้าย
               ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ ายีศักดิ์ศรี (Convention Againt Touture and other Cuel, Inhuman or Degrading
               Treatment or Punishment: CAT) และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง

               (International Covenant on Civil and Political Rights: ICCPR) ที่ได้รับเอาหลักการ Non - refoulement
               ไประบุไว้อย่างชัดแจ้งในตราสารแต่ละฉบับ แต่หลักการดังกล่าวกลับไม่เคยปรากฏอยู่ในกฎหมายภายใน
               ของประเทศไทยในฉบับใดทั้งสิ้น

                           กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย มีข้อกังวลในเรื่องที่ยังไม่มีกฎหมายภายในประเทศของไทยฉบับใด
               ที่มีการน าหลักการ Non - refoulement ไปบรรจุไว้ให้ปรากฏโดยชัดแจ้ง อีกทั้งระเบียบส านักนายกรัฐมนตรี

               ว่าด้วยการคัดกรองคนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรและไม่สามารถเดินทางกลับประเทศอันเป็น
               ภูมิล าเนาได้ พ.ศ. ๒๕๖๒ ที่ประกาศใช้เมื่อ ปี ๒๕๖๒ ก็ยังมีเนื้อหาที่ไม่ครอบคลุมถึงหลักการดังกล่าว
               จึงท าให้เกิดข้อกังวลที่ว่า หากมีการถอนข้อสงวนข้อที่ ๒๒ ประเทศไทยจะถูกโจมตีได้ว่ากฎหมายที่ใช้บังคับ
               ภายในประเทศยังไม่เป็นไปตามพันธกรณีอย่างครบถ้วนสมบูรณ์

                                                                                              ิ
                           อย่างไรก็ตาม หากหน่วยงานผู้ปฏิบัติสามารถรับรองได้ว่าคณะกรรมการพจารณาคัดกรอง
                                                                                  ิ
               ผู้ได้รับการคุ้มครอง ตามระเบียบส านักนายกรัฐมนตรีฉบับดังกล่าวนี้ จะพจารณาปฏิบัติตามโดยเคารพ
               หลักการ Non - refoulement ก็จะไม่มีข้อขัดข้องในการถอนข้อสงวนดังกล่าว ประเทศไทยได้มีการจ ากัด
               การตีความเรื่องของสิทธิในการก าหนดใจตนเองไว้ ในกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิ
                                                                                         ื่
               ทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights: ICCPR) เพอเป็นการประกาศว่า
                                                                              ื่
               รัฐของเราเป็นรัฐอธิปไตยที่มิอาจแบ่งแยกได้ ซึ่งคงไม่มีการถอนค าแถลงเพอตีความความเข้าใจดังกล่าวเช่นกัน
               นอกจากนี้ สหราชอาณาจักร ได้มีค าแถลงตีความความเข้าใจในข้อ ๒๒ เกี่ยวกับเกาะฮ่องกง และหมู่เกาะเคย์แมน
               ไว้ว่า หากเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับข้อ ๒๒ สหราชอาณาจักรขอสงวนไว้ซึ่งสิทธิในการบังคับใช้ตามกฎหมายของ

               สหราชอาณาจักรในการให้ความคุ้มครองเด็กที่มีสถานะผู้ลี้ภัย
                           สภาความมั่นคงแห่งชาติ ได้ร่วมพจารณาความเป็นไปได้ในการถอนข้อสงวนในอนุสัญญาว่า
                                                         ิ
               ด้วยสิทธิเด็ก ข้อที่ ๒๒ ว่า หากพิจารณาความในอนุสัญญาดังกล่าวจะเห็นว่า อนุสัญญา ข้อที่ ๒๒ ค่อนข้าง
               เปิดกว้างและให้สิทธิในการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติ โดยวัตถุประสงค์ ๓ ข้อ ของอนุสัญญาว่าด้วย

               สิทธิเด็ก คือ ๑) ต้องการให้ความช่วยเหลือเด็กผู้ลี้ภัยให้ได้รับสิทธิที่พึงได้รับ ๒) ให้ความร่วมมือกับองค์การ
               สหประชาชาติ (UN) องค์การระหว่างประเทศ (IGO) และองค์การนอกภาครัฐ (NGO) หรือองค์กรสาธารณประโยชน์

               ที่ให้การปกป้องเด็กตามที่รัฐเห็นว่าเหมาะสม และ ๓) เด็กที่ไม่มีครอบครัว รัฐพึงให้การปกป้องเช่นเดียวกับ
               เด็กอื่น ๆ ที่ระบุในอนุสัญญา
                           โดยหน่วยงานหลักในการด าเนินการ คือ กรมกิจการเด็กและเยาวชน แต่เนื่องจากเป็นเรื่องที่ส าคัญ

               สภาความมั่นคงแห่งชาติ ในฐานะเป็นหน่วยนโยบายด้านความมั่นคงที่ให้ค าปรึกษา ข้อเสนอแนะและข้อสังเกต
               จึงได้ก าหนดให้จัดประชุมร่วมกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิ เพราะเวลาแล้วที่ประเทศไทย
               ต้องมีการพจารณาถอนข้อสงวนหากมีเหตุผลเพียงพอและไม่มีหน่วยงานใดคัดค้าน ส่วนประเด็นการถอน
                          ิ
               ข้อสงวนจะเกี่ยวกับค าว่าผู้ลี้ภัย ที่ประเทศไทยไม่ได้เป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพของผู้ลี้ภัย
               (Convention Relating to the Status of Refugee) หรือไม่ ซึ่งจากการพิจารณาแล้วเห็นว่าไม่น่าเกี่ยวกัน
   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62