Page 62 - สรป 4Y กมธ กิจการเด็กฯ ชุด 25
P. 62

หน้า ๕๐                                                                              ส่วนที่ ๓



                           ด้วยเหตุผลข้างต้น จึงเป็นที่มาของการเรียกร้องให้คณะกรรมาธิการเห็นความส าคัญ และ

               ขับเคลื่อนเชิงนโยบายสวัสดิการหนังสือเพื่อเด็กปฐมวัย
                           ที่ประชุมได้มีข้อคิดเห็นและข้อซักถาม ดังนี้

                                                                         ื่
                           ๑. การขับเคลื่อนเชิงนโยบายสวัสดิการหนังสือเพอเด็กปฐมวัยเป็นเรื่องที่เกี่ยวเนื่องกับ
               การศึกษาของเด็กปฐมวัยซึ่งตรงกับภารกิจของคณะกรรมาธิการการศึกษามากกว่าหรือไม่
                           ๒. การจัดหาหนังสือให้เด็กต้องใช้งบประมาณในส่วนใด

                                                       ื่
                           ๓. การจัดสวัสดิการหนังสือเพอเด็กปฐมวัย ควรจัดกลุ่มเป้าหมายเป็นกลุ่มเด็กที่อ่านออก
               เขียนได้ในศูนย์เด็กเล็กทั่วประเทศ ซึ่งสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ถ้าผลักดันให้เป็นนโยบาย

               พร้อมจัดสรรงบประมาณ จะท าให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น
                           ผู้ยื่นหนังสือชี้แจงต่อที่ประชุมเพมเติมว่า ได้เคยเข้าหารือกับคณะกรรมาธิการการศึกษา
                                                         ิ่
               ในเรื่องดังกล่าวแล้ว แต่คณะกรรมาธิการการศึกษาให้ข้อคิดเห็นที่ต่างออกไปว่า การจัดหาหนังสือส าหรับ

               เด็กปฐมวัยที่มีอายุตั้งแต่ ๐ - ๖ ปี ไม่ใช่เรื่องที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา ส่วนงบประมาณอุดหนุน
               การจัดหาหนังสือส าหรับเด็กปฐมวัยสามารถด าเนินการได้ตั้งแต่ระดับชุมชนท้องถิ่นผ่านเทศบัญญัติ

               นโยบายประจ าปี หรือกองทุนสุขภาพระดับท้องถิ่น อย่างไรก็ตาม การขับเคลื่อนในเรื่องดังกล่าว
               หากมีกฎหมาย นโยบายของรัฐ หรือการสนับสนุนของคณะกรรมาธิการมารองรับจะท าให้สามารถ
               ด าเนินการได้ในทุกระดับและทุกท้องที่

                           ส่วนประเด็นการจัดหาหนังสือให้ศูนย์เด็กเล็ก ผู้ยื่นหนังสือชี้แจงว่า เด็กที่เข้าศูนย์เด็กเล็ก
               จะมีอายุประมาณ ๒ ปีครึ่ง - ๓ ปี ซึ่งวัยทองของพัฒนาการทางด้านภาษาที่พัฒนาขีดความสามารถได้สูงสุด

               คือ ช่วงที่คุณแม่ตั้งครรภ์จนถึงสามขวบปีแรก จะเห็นได้ว่าเป็นช่วงวัยที่เด็กยังไม่ได้เข้าศูนย์เด็กเล็ก
               นอกจากนี้ ได้ยกตัวอย่างโครงการในสหรัฐอเมริกาที่ชื่อว่า Reach Out & Read ที่รณรงค์ให้หมอสูตินรีเวช

               เตรียมความพร้อมคุณแม่ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ โดยให้คุณแม่อ่านหนังสือให้ลูกในครรภ์ฟง เนื่องจากเมื่อมี
                                                                                             ั
               อายุครรภ์ ๖ เดือนขึ้นไป ซึ่งเด็กในครรภ์เริ่มได้ยินเสียงแล้ว และเมื่อคลอดทารกแล้วก็จะแจกหนังสือ
               พร้อมคู่มือให้แก่คุณแม่ ประกอบกับผลงานวิจัยในหลายประเทศได้มีการยืนยันออกมาว่าการอ่านจะช่วยให้

               เด็กฟื้นฟูภาวะการเรียนรู้ถดถอยได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งหากสามารถผลักดันโครงการดังกล่าวไปสู่ระดับนโยบาย
               หรือการจัดสวัสดิการได้จะเป็นประโยชน์ต่อเด็กปฐมวัยเป็นอย่างมาก

                                  ิ
                           เมื่อได้พจารณาแล้ว คณะกรรมาธิการเห็นว่าการขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าว เกี่ยวข้องกับ
               หลายหน่วยงาน โดยหน้าที่และอ านาจของคณะกรรมาธิการจะผลักดันนโยบายดังกล่าวในมิติของ
               กระบวนการนิติบัญญัติ ต่อไป
   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67