Page 66 - สรป 4Y กมธ กิจการเด็กฯ ชุด 25
P. 66

หน้า ๕๔                                                                              ส่วนที่ ๓



                           ส่านักงานศาลยุติธรรม

                           ผู้แทนจากส านักงานศาลยุติธรรม ได้ชี้แจงข้อมูลต่อคณะกรรมาธิการว่า กรณีพระราชบัญญัติ
                                                                                                        ิ่
                                                ิ
               ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๓ และที่แก้ไขเพมเติม
                                                                               ิ่
               มาตรา ๖๙/๑ ขัดกับเจตนารมณ์ของประมวลกฎหมายอาญาและที่แก้ไขเพมเติม มาตรา ๗๓ และมาตรา ๗๔
               หรือไม่ นั้น เห็นว่าไม่ขัดกับเจตนารมณ์ของกฎหมายดังกล่าว เนื่องจากการออกหมายเรียกมิได้หมายความว่า
               เด็กได้รับโทษ แต่เป็นเพยงการเรียกเด็ก บิดา มารดา ผู้ปกครอง หรือบุคคลหรือผู้แทนองค์การซึ่งเด็กนั้น
                                     ี
               อาศัยอยู่ด้วย มาว่ากล่าวตักเตือน แต่ถ้าเป็นกรณีเป็นความผิดที่พนักงานสอบสวนหรือเจ้าพนักงานอื่นไม่มี

               อ านาจเปรียบเทียบได้ ให้พนักงานสอบสวนส่งตัวบุคคลนั้นให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วย
               การคุ้มครองเด็กเพอด าเนินการคุ้มครองสวัสดิภาพตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น ส าหรับการสอบสวนให้ต ารวจ
                                ื่
               ด าเนินการต่อไปได้ แต่เมื่อส่งตัวให้พนักงานอัยการแล้ว ถ้าผู้กระท าความผิดเป็นเด็กอายุต่ ากว่า ๑๒ ปี

               ให้พนักงานอัยการมีค าสั่งยุติการด าเนินคดี ทั้งนี้ ห้ามมิให้ผู้เสียหายฟองบุคคลซึ่งมีอายุไม่เกินกว่าอายุ
                                                                               ้
               ที่ก าหนดไว้ตามมาตรา ๗๓ แห่งประมวลกฎหมายอาญา เป็นคดีอาญาต่อศาลใด ตามมาตรา ๖๙/๑ วรรคท้าย
               ท าให้ศาลเยาวชนและครอบครัวไม่มีอ านาจพิจารณาคดีในกรณีเด็กอายุต่ ากว่า ๑๒ ปีเป็นผู้กระท าความผิด

               จึงเห็นได้ว่ามาตรการและกลไกของมาตรา ๖๙/๑ สอดรับกับเจตนารมณ์ของประมวลกฎหมายอาญา
               และที่แก้ไขเพิ่มเติมแล้ว
                           นางทิชา ณ นคร ผู้อ านวยการศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน (ชาย) บ้านกาญจนาภิเษก

                            ิ่
               ได้ให้ข้อมูลเพมเติมต่อคณะกรรมาธิการว่า การยึดประโยชน์สูงสุดต้องเป็นของเด็กตามอนุสัญญาว่าด้วย
               สิทธิเด็ก (Convention on the Rights of the Child - CRC ) เด็กที่มีอายุต่ ากว่า ๑๒ ปี ไม่ควรเข้าสู่กระบวนการ
               ยุติธรรมเพราะจะเป็นบาดแผลของเด็ก โดยสาเหตุส่วนหนึ่งของการกระท าความผิดของเด็กเกิดจากครอบครัว

                                                                             ั
               และชุมชน จึงขอเสนอแนะว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงการพฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
               ยุติธรรมจังหวัด รวมถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ควรจัดตั้งคณะท างานร่วมกันถอดบทเรียนจากเหตุการณ์
                                                                                         ื่
               ดังกล่าวโดยการหาแนวทางหรือกระบวนการที่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของกฎหมายเพอให้เกิดประโยชน์สูงสุด
               แก่เด็ก รวมไปถึงเสริมสร้างให้เกิดความเข้าใจในระดับชุมชนเพื่อให้เห็นถึงสาเหตุในการปกป้องเด็กเพราะว่า
               เด็กเป็นต้นทุนของประเทศ
                           การพิจารณาของคณะกรรมาธิการมีข้อคิดเห็นและข้อสังเกต ต่อหน่วยงานต่าง ๆ ดังนี้

                           ๑. กระทรวงการพฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และกรมพนิจและคุ้มครองเด็ก
                                            ั
                                                                                          ิ
               และเยาวชน ควรมีการจัดเก็บข้อมูลจ านวนเด็กที่ต้องหาว่ากระท าความผิดอาญา แต่อายุไม่ถึงเกณฑ
                                                                                                            ์
               ต้องรับโทษทางอาญา ภายหลังการประกาศบังคับใช้พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา
               (ฉบับที่ ๒๙) พ.ศ. ๒๕๖๕ ด้วย

                           ๒. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรสร้างความเข้าใจร่วมกันเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติในการด าเนินการ
                                                                      ิ่
               เรื่องดังกล่าวหลังการประกาศบังคับใช้พระราชบัญญัติแก้ไขเพมเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๒๙)
               พ.ศ. ๒๕๖๕  ไม่ว่าจะเป็นบันทึกความเข้าใจ (MOU) แนวทางปฏิบัติร่วมกันระหว่างหน่วยงาน
                                                                    ื่
                           ๓. ควรพจารณาก าหนดหน่วยงานเจ้าภาพเพอจัดตั้งคณะท างานร่วมกันระหว่างหน่วยงาน
                                   ิ
               ที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ เพอถอดบทเรียนหรือหาแนวทางการด าเนินการคุ้มครองเด็กที่ถูกกล่าวหาว่ากระท าความผิด
                                 ื่
                                                                                      ั
               ทางอาญา แต่อายุไม่ถึงเกณฑต้องรับโทษทางอาญา โดยผู้แทนจากกระทรวงการพฒนาสังคมและความมั่นคง
                                         ์
               ของมนุษย์ ได้ชี้แจงต่อที่ประชุมว่า กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์รับเป็นหน่วยงานเจ้าภาพ
               เพื่อจัดตั้งคณะท างานเพอถอดบทเรียนหรือหาแนวทางดังกล่าว ทั้งนี้ ด าเนินการแล้วได้ผลเป็นประการใด
                                     ื่
               จะได้แจ้งให้คณะกรรมาธิการทราบด้วย
   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71