Page 61 - สรป 4Y กมธ กิจการเด็กฯ ชุด 25
P. 61
ส่วนที่ ๓ หน้า ๔๙
พิจารณาการขับเคลื่อนเชิงนโยบาย “สวัสดิการหนังสือเพื่อเด็กปฐมวัย”
คณะกรรมาธิการกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการ กลุ่มชาติพันธุ์ และผู้มีความหลากหลาย
ิ
ทางเพศ พจารณาข้อเสนอของนางสุดใจ พรหมเกิด ผู้จัดการแผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน
ส านักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เรื่อง ขอความสนับสนุนการขับเคลื่อนเชิงนโยบาย
ื่
“สวัสดิการหนังสือเพอเด็กปฐมวัย” และได้ขอยื่น “ข้อเสนอเชิงนโยบายเพอสานพลังขับเคลื่อนให้เกิด
ื่
นโยบายสวัสดิการหนังสือเพื่อเด็กปฐมวัย” เพื่อขับเคลื่อนนโยบายให้บรรลุผล น าไปสู่การพัฒนาเด็กปฐมวัย
ในสถานการณ์วิกฤติขณะนี้ สรุปสาระส าคัญได้ ดังนี้
เนื่องจากภาวะการเรียนรู้ถดถอย หรือ Learning Loss ที่เกิดขึ้นในเด็กปฐมวัยโดยเฉพาะ
เด็กแรกเกิด - ๖ ปี ท าให้เด็กตกอยู่ในภาวะยากล าบากเป็นอย่างมาก องค์การยูนิเซฟ และองค์การอนามัยโลก
ได้มีรายงานว่า เด็กไทยและเด็กทั่วโลกโดยเฉพาะในกลุ่มเด็กเล็กมีภาวะการเรียนรู้ถดถอย รวมทั้งมีภาวะ
ถดถอยทางด้านสังคมและด้านอื่น ๆ ร่วมด้วย และพบว่าการให้ความส าคัญกับการอ่านจะช่วยพฒนา
ั
ั
ู
ื้
สมองส่วนหน้าของเด็ก ส่งผลให้สามารถพฒนาเด็กได้อย่างเต็มศักยภาพ และช่วยฟนฟภาวะการเรียนรู้ถดถอย
ได้เป็นอย่างมาก
งานวิจัย เรื่อง ผลกระทบของสื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านจอในเด็กปฐมวัย ระบุว่า การเสพสื่อผ่านจอ
ั
มีผลกระทบต่อพฒนาการด้านการเรียนรู้ของเด็กอย่างมาก สอดคล้องกับผลส ารวจพฒนาการของเด็กปฐมวัย
ั
อายุ ๐ – ๖ ปี พบว่า เด็กมีพัฒนาการล่าช้าร้อยละ ๓๒.๕ โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ มีพัฒนาการ
ี
สมวัยอยู่ที่ร้อยละ ๕๐ - ๖๐ เด็กอายุน้อยกว่า ๒ ปี ถูกเลี้ยงดูด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพยงอย่างเดียวร้อยละ ๘๐
ส่งผลให้มีพัฒนาการล่าช้าด้านภาษา ขณะที่บิดามารดาที่อ่านหนังสือให้เด็กฟังอย่างมีคุณภาพมีเพียงร้อยละ ๒๐
ทั้งนี้ องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้จัดท าคู่มือแนะน าการใช้เวลาหน้าจอของเด็ก ระบุว่า เด็กในช่วงอายุ
๑ - ๒ ปี ไม่ควรใช้เวลาอยู่หน้าจอเลย ส่วนเด็กอายุ ๓ - ๔ ปี ไม่ควรใช้เวลาอยู่หน้าจอเกิน ๑ ชั่วโมงต่อวัน
และต้องมีผู้ใหญ่คอยดูแลอย่างใกล้ชิด
การอ่านนอกจากจะเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างแม่กับลูกแล้วยังช่วยพัฒนาสมองของเด็ก
๑ - ๕ ปีแรก ท าให้เด็กจะมีการจดจ่อที่ดี มีความจ าขณะท างานที่ดี มีวงจรประสาทที่พร้อมที่จะเรียนรู้
ทางด้านภาษาต่อไป นอกจากนี้ การส่งเสริมให้เด็กอ่านหนังสือต้องด าเนินการตั้งแต่สามขวบปีแรก
เนื่องจากเป็นช่วงที่มนุษย์จะพัฒนาขีดความสามารถด้านภาษาได้สูงสุด รวมถึงการบ่มเพาะพฤติกรรมด้าน
อื่น ๆ การให้เด็กเข้าสู่สื่อจอเร็วจะท าให้เด็กขาดความยับยั้งชั่งใจ แต่การใช้สื่อที่มีปฏิสัมพนธ์อย่างเช่น
ั
หนังสือที่เหมาะสมกับเด็กในแต่ละช่วงวัย ไม่ใช่เพียงท าให้เด็กมีพัฒนาการที่ดีขึ้นเท่านั้น แต่จะช่วยบ่มเพาะ
คุณลักษณะที่พึงประสงค์ให้แก่เด็กได้ในทุกเรื่อง
แนวทางแก้ไขภาวะการเรียนรู้ถดถอยในช่วงสามขวบปีแรก คือ การสร้างเสริมพัฒนาการด้าน
ื่
ความรัก ตลอดจนพัฒนาการด้านอื่นที่ขาดหายไปในช่วงสามขวบปีแรกเข้ามาทดแทนเพอสร้างกระบวนการ
เรียนรู้ จากการท างานของผู้ยื่นหนังสือพบว่า การอ่านหนังสือให้เด็กฟัง จะท าให้เด็กสามารถอ่านออกเขียน
ได้ภายในระยะเวลา ๑ - ๒ ปี ซึ่งสามารถแก้วิกฤตเด็กที่อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ของเด็กช่วงประถมตอนต้น
และท าให้เด็กไม่ต้องออกจากระบบการศึกษากลางคัน ดังนั้น การท าให้เด็กปฐมวัยมีหนังสืออ่านอย่างน้อย
๓ เล่ม จะเป็นการวางรากฐานการอ่านที่ยั่งยืน และท าให้เด็กมีการเรียนรู้และพัฒนาการที่ดีขึ้นเมื่อเติบโต