Page 90 - ตำนานการสวดพระมาลัย
P. 90
๘๔
บทสวดมาลัยของครูแก้ว
บทสวดมาลัยยุคโบราณกาลนี้ เป็นบทสวดทครูแก้ว ผลความดี ได้จดจําและฝึกสวดมาจาก
ี่
นายคลิ้ง สังข์สวัสดิ์ และได้รวบรวมบทสวดเพิ่มเติมจากบุคคลโบราณหลายท่าน เพื่อเป็นการอนุรักษ์
ไว้มิให้สูญหายไป ให้คนรุ่นหลังได้มีโอกาสเรียนรู้ธรรมเนียมของคนโบราณที่ใช้สวดงานศพ หลังจาก
การสวดของสงฆ์การสวดมาลัยจะเริ่มขึ้นหลังจากที่พระสวดพระอภิธรรมเสร็จแล้ว โดยเริ่มการสวด
“ถามหาที่สวด” ทําเพื่อขอที่สวด (หรือเรียกว่า ตั้งโลง) แล้วก็สวด "ตั้งนโม" เพื่อเป็นการสรรเสริญคุณ
พระรัตนตรัย "ฉันท์รับบท" คือไหว้ครูอาจารย์และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เคารพนับถือต่อจากนั้นจึงสวดบท "ใน
้
กาล" อันเป็นบทเริ่มเนื้อเรื่องในหนังสือพระมาลัยที่เรียกว่าบทในการนนเพราะคําขึ้นตนของบทสวด
ั้
ึ้
้
ในตอนนี้ขนตนว่า "ในกาลอันลับล้น" เป็นการเล่าประวัติของพระมาลัยในการที่ได้โปรดสัตว์ทั้งหลาย
ในสวรรค์และนรกผู้ร้องบทนี้จะเป็นผู้ชาย เมื่อจบบทในกาลแล้วก็จะขึ้นบท "ลํานอก" หรือเรียกว่า
ุ
ุ
่
"เรื่องเบ็ดเตล็ด" คือจะเป็นเรื่องจากวรรณคดีต่างๆ เชน ขนช้างขนแผน สังข์ทอง พระอภัยมณี อิเหนา
้
จันทโครพ เป็นตน การแทรก "ลํานอก"เข้ามาก็เพื่อเปลี่ยนบรรยากาศให้เกิดความสนุกสนาน ในบทลํา
นอกนี้อาจร้องเป็นทํานองเพลงลําตัดเพลงนา หรือเพลงฉ่อย ก็ได้แต่ส่วนมากนิยมว่าเป็นเป็นเพลง "ลํา
ตัด" ชาวบ้านมักเรียกบทนี้ว่า "บทยักมาลัย" คือถือเป็นการพลิกแพลงตามความถนัดของผู้เล่นแต่เดิม
ไม่มีการเล่นลํานอก หรือเล่นเบ็ดเตล็ด เพิ่งจะมีขึ้นในภายหลัง เพื่อที่จะให้การสวดมาลัยมีความ
สนุกสนานเพิ่มขึ้น