Page 91 - ตำนานการสวดพระมาลัย
P. 91
๘๕
ประวัติการสวดมาลัยของคณะครูแก้ว
ครูแก้วเริ่มสวดมาลัยเมื่อครูแก้วอายุ ๒๐ ปี และเลิกสวดมาลัยเมื่อครูแก้วอายุ ๕๕ ปีโดยเลิก
ี่
เล่นสวดมาลัยมาแล้วประมาณ ๓๕ ปี ในช่วงทคณะสวดมาลัยครูแก้วรุ่งเรืองสูงสุด ครูแก้วแสดงการ
สวดมาลัยสูงสุดถึงเดือนละ ๖ ครั้ง โดยปกติแล้วเจ้าภาพงานศพจะเชิญคณะสวดมาลัยไปสวดที่งาน
ั้
ศพในคนสุดท้ายก่อนการเผาศพ โดยจะมีการสวดเพียงงานศพละ ๑ คืนเท่านน คณะสวดมาลัยครู
ื
แก้วในสมัยที่รุ่งเรือง มีนักแสดงที่สังกัดคณะสวดมาลัยครูแก้วทั้งหมด ๑๙ คน เป็นผู้สวดมาลัยเพศ
ชายจํานวน ๑๔ คน และผู้สวดมาลัยเพศหญิงจํานวน ๕คน คณะสวดมาลัยครูแก้วจะเริ่มแสดงสวด
มาลัยหลังจากพระสวดพระอภิธรรมเสร็จ โดยจะเริ่มสวดตั้งแต่เวลา ๒๐.๐๐ น. – ๐๖.๐๐ น. จัดว่า
ิ
เป็นการสวดที่นาน และเหนื่อยมาก ปกตเจ้าภาพที่จัดงานศพมักจะเลี้ยงเหล้าให้กับคณะสวดมาลัย
่
เป็นการตอบแทนในระหว่างการสวดคณะสวดมาลัยครูแก้วได้รับการเชิญไปสวดมาลัยหลายแห่ง เชน
สวดที่จังหวัดพัทลุง๑ ครั้ง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ๑ ครั้ง และได้รับเชิญให้ไปสวดภายในจังหวัด
นครศรีธรรมราชนับครั้งไม่ถ้วนในหลายเขตอําเภอ เชน อําเภอปากพนัง อําเภอหัวไทร อําเภอชะอวด
่
และอําเภอเมือง ในอําเภอพระพรหม โดยไดรับเชิญให้ไปแสดงการสวดมาลัยที่ตําบลท้ายสําเภา
้
อําเภอพระพรหม จังหวัดนครศรีธรรมราชมากที่สุด การสวดมาลัยนี้ได้รับความนิยมจากชาวบ้าน
ทั่วไป บางครั้งคณะสวดมาลัยต้องเดินข้ามท้องทุ่งนา หนอง คลองบึงเพื่อไปยังวัดหรือบ้านทตั้งงานศพ
ี่
ถ้าน้ําท่วม ก็ต้องเดินลุยน้ําไป โดยคณะสวดมาลัยจะนําเครื่องดนตรี และอุปกรณ์การแต่งกายที่ใช้ใน
ํ
การแสดงสวดมาลัยตดตัวไปด้วย เชน ซออู้ ซอด้วง รามะนา เป็นต้น
ิ
่