Page 66 - คู่มือกรทำวิจัยอย่างง่ายของครู กศน.
P. 66
วิธีเขียนบรรณานุกรม
ให้เขียนเรียงล าดับตามอักษรตัวแรกที่ปรากฏ กรณีมีผู้เขียนคนเดียวกัน มากกว่า 1 เล่ม
ให้เรียงล าดับตามปีที่พิมพ์ (ก่อน-หลัง) โดยไม่ต้องระบุชื่อผู้เขียนซ้ าอีก แต่ให้ขีดเส้นยาว (10 เคาะ) แทนการ
พิมพ์ชื่อผู้เขียนที่ซ้ ากัน ในคู่มือเล่มนี้ จะกล่าวถึงรูปแบบการเขียนบรรณานุกรม จากหนังสือภาษาไทย วารสาร
และเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ไว้ดังนี้
1) บรรณานุกรมจากหนังสือภาษาไทย
ชื่อผู้เขียน.//ปีที่พิมพ์.//ชื่อหนังสือ.//ครั้งที่พิมพ์ (ถ้ามี).//เมืองที่พิมพ์/:/ผู้รับผิดชอบการพิมพ์ (โรงพิมพ์ ส านักพิมพ์)
ตัวอย่าง
บุญชม ศรีสะอาด. (2543). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
__________ . (2546). การวิจัยส าหรับครู. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
สถาบันพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยภาคเหนือ. (2552). คู่มือการท าวิจัย
อย่างง่าย. อุบลราชธานี : ยงสวัสดิ์อินเตอร์กรุ๊ป.
2) บรรณานุกรมจากวารสาร
ชื่อผู้เขียน.//ชื่อบทความ./ชื่อวารสาร./ปีที่(หรือเล่มที่หรือฉบับที่/วัน (ถ้ามี) เดือน ปี,/เลขหน้า.
ตัวอย่าง
วิทยาคม พิศาล. “การพัฒนาระบบงานศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์”. กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์.
43(3) กรกฎาคม 2547, 142 – 153.
3) บรรณานุกรมจากเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ หรือเว็บไซต์
ชื่อผู้เขียน.//ปีที่เขียน.//ชื่อบทความ (ออนไลน์).//สืบค้นจาก/:/ชื่อเว็บไซต์ [วัน เดือน ปี ที่สืบค้น].
ตัวอย่าง
พักตร์พริ้ง แสงดี. (ม.ป.ป.). การน าเสนอผลงานด้วยโปสเตอร์ (ออนไลน์). สืบค้นจาก :
http://www.agri.ubu.ac.th/~saran/1213461/text.doc [24 กุมภาพันธ์ 2559].
8.3 ภาคผนวก เป็นส่วนหนึ่งที่จะน าเสนอตัวอย่างของเครื่องมือต่าง ๆ ที่ใช้ในการวิจัยอย่างง่าย
ตัวอย่างแสดงการวิเคราะห์ข้อมูล หรืออื่น ๆ ที่ผู้วิจัยต้องการน าเสนอเพิ่มเติมให้เห็นที่มาของงานวิจัย
คู่มือการท าวิจัยอย่างง่ายของครู กศน.
52