Page 62 - คู่มือกรทำวิจัยอย่างง่ายของครู กศน.
P. 62
เรื่องที่ 1 รูปแบบการเขียนรายงานการวิจัยอย่างง่าย
เมื่อผู้วิจัยได้ด าเนินการวิจัย และสรุปผลการท าวิจัยอย่างง่ายตามกระบวนการในตอนที่ 3 แล้ว
ขั้นตอนต่อไป คือ การเขียนรายงานการวิจัย ซึ่งนับว่าเป็นสิ่งส าคัญที่ครูผู้วิจัยเป็นผู้ค้นพบจากการด าเนินการ
ตามกระบวนการวิจัย เพื่อตอบประเด็นที่สนใจศึกษาหรือแก้ปัญหาให้กับผู้เรียน แล้วรายงานสิ่งที่ค้นพบให้
ผู้อ่านงานวิจัยได้รับรู้ นอกจากจะเป็นประโยชน์ในการศึกษาแล้ว ยังแสดงถึงความรู้ ความสามารถเชิงวิชาการ
ของครูผู้สอนอีกด้วย ทั้งนี้ การเขียนรายงานผลการวิจัยโดยทั่วไป จะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้
1. การเขียนรายงานผลการวิจัยเต็มรูป ซึ่งจะเขียนให้เห็นถึงรายละเอียดในทุกขั้นตอน มักเป็น
รายงานผลการวิจัยที่มีจ านวนหน้าหลายสิบหน้า และต้องเขียนตามแบบมาตรฐานสากลที่นิยมเขียนกัน
รายงานผลการวิจัยลักษณะนี้อาจเรียกว่า “รายงานผลการวิจัยแบบเป็นทางการ” มักเขียนกัน 5 บท
2. การเขียนรายงานผลการวิจัยอย่างย่อ ๆ มักเขียนสรุปให้เห็นถึงสาระส าคัญ โดยไม่อิงกับ
รูปแบบสากลมากนัก ลดความเข้มข้นของการเขียนเชิงวิชาการลง รายงานผลการวิจัยลักษณะนี้ จะเขียนเพียง
ไม่กี่หน้าและเรียกว่า “รายงานผลการวิจัยแบบไม่เป็นทางการ” ในการเขียนรายงานการวิจัยในที่นี้ ได้น าเสนอ
รูปแบบการเขียนรายงานการวิจัยอย่างง่าย ประกอบด้วย 8 หัวข้อ พร้อมยกตัวอย่าง เพื่อให้ครูผู้วิจัยสามารถ
น าไปปฏิบัติได้
องค์ประกอบของการเขียนรายงานการวิจัยอย่างง่าย ประกอบด้วย
1. ชื่อเรื่อง
2. ชื่อผู้วิจัย
3. ความเป็นมาและความส าคัญของปัญหา
4. วัตถุประสงค์ของการวิจัย
5. วิธีด าเนินการวิจัย
6. ผลการวิจัย
7. สรุปผล อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ
8. เอกสารอ้างอิง บรรณานุกรม และภาคผนวก
การเขียนรายงานการวิจัยอย่างง่ายที่ดี ควรค านึงถึงสิ่งต่อไปนี้
1. เนื้อหาสาระที่น ามาเขียน ต้องมาจากการศึกษาค้นคว้า และมีความถูกต้องตามหลักวิชาการ
2. เนื้อหาสาระในแต่ละหัวข้อ ต้องมีความเชื่อมโยงกัน โดยยึดวัตถุประสงค์ของการวิจัยเป็นหลัก
ในการเรียบเรียง
3. ควรใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย ชัดเจน ตรงตามวัตถุประสงค์ และไม่วกวน
คู่มือการท าวิจัยอย่างง่ายของครู กศน.
48