Page 57 - คู่มือกรทำวิจัยอย่างง่ายของครู กศน.
P. 57
ได้ศึกษามาจากแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง คือ แนวคิดการสอนแบบปฏิบัติการ ทฤษฎีการเรียนรู้ต่อเนื่อง
ของธอร์นไดค์และการสร้างแบบฝึกหัดเสริมทักษะ โดยผ่านกระบวนการเรียนในกลุ่มที่ครูผู้วิจัยได้อธิบายถึง
การใช้ภาษาไทย การสะกดค า ความหมายของค า ประกอบการใช้สื่อการเขียนการยกตัวอย่างบนกระดานด า
การให้ผู้เรียนฝึกทักษะการอ่านและเขียนสะกดค า โดยครูผู้วิจัยได้ควบคุมกระบวนการจัดการเรียนการสอน
ตามทฤษฎีการเรียนรู้อย่างเคร่งครัด จึงน ามาสู่ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนที่สูงขึ้น
ข้อเสนอแนะ
งานวิจัยอย่างง่ายจะสมบูรณ์ได้ ผู้วิจัยต้องมีข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ที่จะน างานวิจัย
อย่างง่ายชิ้นนี้ไปศึกษา แล้วจะน าผลที่ศึกษาไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างไรกับหน่วยงาน หรือบุคคลใด
ข้อเสนอแนะมีอยู่ 2 รูปแบบ คือ ข้อเสนอแนะทั่วไปกับข้อเสนอแนะงานวิจัยครั้งต่อไป การเขียน
ข้อเสนอแนะนั้น ควรน าผลการวิจัยเป็นตัวชี้น าข้อเสนอแนะ โดยเฉพาะผลการวิจัยที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดหรือต่ าสุด
ในแต่ละรายด้าน รายข้อของประเด็นที่ศึกษา
ข้อเสนอแนะทั่วไป เขียนเพื่อเสนอให้ผู้เกี่ยวข้องรู้ว่า ผลการวิจัยที่ได้นั้น จะน าไปใช้ประโยชน์
กับหน่วยงาน หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องและน าสู่การปฏิบัติอะไรได้บ้าง มีเงื่อนไขข้อจ ากัดอย่างไร มีวิธีการใช้
อย่างไร ที่จะท าให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด นอกจากนี้ ควรเสนอแนะโดยให้รายละเอียดเพียงพอที่จะสามารถ
น าไปใช้ได้จริง
ส าหรับข้อเสนอแนะงานวิจัยครั้งต่อไป ควรเขียนจากการอ้างอิงถึงผลการวิจัยที่ได้ก่อน
แล้วเสนอแนะว่า ควรจะวิจัยอะไรต่อไป ครูผู้วิจัยต้องศึกษาในประเด็นที่ส าคัญ ๆ หรือประเด็นที่มองเห็นว่า
จะมีปัญหาต่อไป และควรเสนอวิธีการวิจัย กระบวนการวิจัยประกอบด้วย ทั้งนี้ บุคคลหรือหน่วยงานที่สนใจ
ประเด็นดังกล่าวจะได้น าไปอ้างอิงเพื่อท าวิจัยในครั้งต่อไป
คู่มือการท าวิจัยอย่างง่ายของครู กศน.
43