Page 53 - คู่มือกรทำวิจัยอย่างง่ายของครู กศน.
P. 53
เรื่องที่ 4 การวิเคราะห์และแปลผลข้อมูล
หลังจากขั้นตอนที่ครูผู้วิจัยเก็บรวบรวมมาจากผู้เรียน ข้อมูลเหล่านั้นจะยังไม่มีความหมาย
ต้องน ามาวิเคราะห์และแปลความหมาย ซึ่งอาจท าได้หลายวิธี เช่น วิธีพรรณนาวิเคราะห์ วิธีการทางสถิติ หรือ
วิธีการเปรียบเทียบ เป็นต้น ทั้งนี้ วิธีการเปรียบเทียบสามารถท าได้หลายลักษณะ เช่น เปรียบเทียบกับคะแนนเต็ม
หรือเปรียบเทียบกับคะแนนเกณฑ์ ซึ่งบุญชม ศรีสะอาด (2546 : 137) ได้กล่าวไว้ ดังนี้
1. การเปรียบเทียบกับคะแนนเต็ม ในการจัดการเรียนการสอนทั่วไป มุ่งให้ผู้เรียนบรรลุการเรียนรู้
ระดับสูงทุกคนหรือส่วนใหญ่ ถ้าผู้เรียนทุกคนสอบได้คะแนนเต็มก็ถือว่าจัดการเรียนรู้บรรลุอุดมการณ์
เป็นสิ่งที่ดีเลิศ จากกรณีตัวอย่างที่ 1 หน้า 26 ปัญหาผู้เรียนมักจะเขียนสะกดค าผิด ครูผู้วิจัยควรใช้แบบทดสอบ
วัดผลสัมฤทธิ์ (Achievement Test) ที่ครูผู้สอนก าหนดเกณฑ์การประเมินขึ้นมาเอง เช่น ผู้เรียนจะสอบผ่านได้
ต้องเขียนสะกดค าหลังเรียนได้ถูกต้องร้อยละ 100 หมายถึง ผู้เรียนแต่ละคนต้องเขียนค าสะกดได้ถูกต้องทุกค า
จนไม่มีผู้เรียนคนใดเขียนสะกดค าผิด
2. การเปรียบเทียบกับคะแนนเกณฑ์ ในการจัดการเรียนรู้ ครูผู้วิจัยควรตั้งเกณฑ์การแปล
ความหมาย เช่น เกณฑ์สอบผ่านใช้ค่าร้อยละ 80 หรือเกณฑ์ที่ใช้พิจารณาผู้เรียนที่จะได้ระดับผลการเรียน ดังนี้
ระดับดีมาก คือ ร้อยละ 80 - 100
ระดับดี คือ ร้อยละ 65 - 79
ระดับปานกลาง คือ ร้อยละ 50 - 64 เป็นต้น
ตัวอย่างการวิเคราะห์หาประสิทธิผลของสื่อ วิธีสอนหรือนวัตกรรม
กรณีการวิจัยตัวอย่างที่ 1 หน้า 26 ครูผู้วิจัยพบว่า มีผู้เรียนที่เขียนสะกดค าผิด จ านวน 5 คน
จ านวนค าที่เขียนผิด 40 ค า ก าหนดให้คะแนน ค าละ 1 คะแนน เมื่อครูผู้วิจัยใช้แบบฝึกหัดเสริมทักษะและ
กระบวนการเรียนการสอนแล้ว เพื่อให้ทราบว่า สื่อการเรียนการสอนหรือวิธีสอนหรือนวัตกรรม
ที่ครูผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมามีประสิทธิผล (Effectiveness) ต่อการเรียนของผู้เรียนเพียงใด
(ครูผู้วิจัยควรเขียนพรรณนาบรรยากาศการจัดการเรียนการสอน ว่าตนเองใช้วิธีการอย่างไร ก่อนน าเข้าสู่
บทเรียน มีการทดสอบความรู้ผู้เรียนก่อนหรือไม่ หากไม่มีการทดสอบก่อนเรียน ให้ครูผู้วิจัยน าชิ้นงานของผู้เรียนที่
เขียนผิด มาอธิบายไว้ในวิธีการวิจัยว่า การจัดการเสริมทักษะการเขียนสะกดค าครั้งนี้ ครูผู้วิจัยได้น าข้อมูลจากชิ้นงาน
ของผู้เรียนมาจัดท าเป็นแบบฝึกหัดหรือใบงาน จึงถือว่ามีการทดสอบความรู้ก่อนเรียนของผู้เรียนมาแล้ว จากนั้นจึง
น าเข้าสู่บทเรียน มีค าอธิบายแนะน าการใช้แบบฝึกหรือใบงานเพิ่มเติมอย่างไร นอกจากแบบฝึก หรือใบงาน แล้วมีการ
ใช้สื่ออย่างอื่นประกอบการสอนอีกหรือไม่ เช่น การอธิบายค าสะกดบนกระดานด า ระยะเวลาในการสอนใช้จ านวนกี่
ชั่วโมง จากนั้นจึงทดสอบความรู้ของผู้เรียนหลังเรียน โดยมีวิธีการทดสอบความรู้ครูผู้วิจัยท าอย่างไร เช่น
ใช้แบบทดสอบ ใช้วิธีให้ผู้เรียนอ่านค าแล้วเขียนลงในกระดาษค าตอบ เป็นต้น)
คู่มือการท าวิจัยอย่างง่ายของครู กศน.
39