Page 50 - คู่มือกรทำวิจัยอย่างง่ายของครู กศน.
P. 50
บางต ารานักวิจัยหลายท่าน ได้เรียกขั้นตอนการท าวิจัยอย่างง่ายแบบนี้ ว่าขั้นเตรียมและ
ขั้นด าเนินการ ซึ่งการปฏิบัติงานวิจัยอย่างง่ายของเอกสารคู่มือเล่มนี้ ได้ก าหนดกรอบของการวิจัยไว้ชัดเจนแล้ว
ว่าเป็นเรื่องของครูผู้สอน คือ กระบวนการจัดการเรียนรู้ และผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนเท่านั้น ซึ่งสามารถแสดงได้
ตามแผนผังความสัมพันธ์ ดังนี้
รูปแบบ/วิธีการ
ครูผู้สอน ผู้เรียน ผลสัมฤทธิ์
จัดการเรียนรู้
จากกรอบความสัมพันธ์ของการท าวิจัยอย่างง่าย เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาผู้เรียนนี้ สามารถอธิบาย
ขั้นตอนของการท าวิจัยได้กว้าง ๆ ดังนี้
1. ขั้นเตรียม ครูผู้สอนก าหนดจุดมุ่งหมายของการฝึกปฏิบัติ รายละเอียดของขั้นตอนการท างาน
เตรียมสื่อต่าง ๆ เช่น วัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือ ใบงานหรือคู่มือการปฏิบัติงาน
2. ขั้นด าเนินการ ครูผู้สอนให้ความรู้และทักษะที่เป็นพื้นฐานในการปฏิบัติ มอบหมายงาน
ที่ปฏิบัติเป็นกลุ่มหรือรายบุคคล ก าหนดหัวข้อการรายงาน หรือการบันทึกผลการปฏิบัติงานของผู้เรียน
การเก็บข้อมูล
การเก็บข้อมูล เริ่มจากครูผู้วิจัยย้อนไปศึกษาปฏิทินการปฏิบัติงาน ที่เขียนระบุไว้ในโครงร่างการวิจัย
หรือแผนการวิจัย แล้ววิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างขั้นตอนการด าเนินการวิจัย ระยะเวลา เครื่องมือและ
แหล่งข้อมูล หมายความว่า หลังจากที่ครูผู้วิจัยมีกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการวิจัยแล้ว มีการเตรียมเครื่องมือ
ที่น่าเชื่อถือ และคาดว่าจะสามารถเก็บข้อมูลเพื่อน ามาใช้ในการแก้ปัญหาได้ ครูผู้วิจัยก็ลงมือเก็บข้อมูลได้ทันที
วิธีการเก็บข้อมูลจะเป็นอย่างไรนั้น ขึ้นอยู่กับเครื่องมือที่ครูผู้วิจัยสร้างขึ้นมา แต่ทั้งนี้ อาจต้องก าหนดระยะเวลา
การท าวิจัยในรูปแบบแผนวิจัย หรือปฏิทินการวิจัยอย่างง่ายไว้ตามตัวอย่าง ต่อไปนี้
ตัวอย่างแผนวิจัยอย่างง่าย/ ปฏิทินการวิจัยอย่างง่าย
รายการ/กิจกรรม ระยะเวลา เครื่องมือที่ใช้ แหล่งข้อมูล
เก็บข้อมูลพื้นฐานผู้เรียน 1-2/5/59 แบบสอบถาม - ผู้เรียน
การสัมภาษณ์ - ผู้ปกครอง
ทดสอบความรู้ภาษาไทย 4/5/59 แบบทดสอบ - ผู้เรียน
ทดสอบทักษะการอ่านออกเสียง 4/5/59 แบบทดสอบการอ่าน - ผู้เรียน
การสังเกต
คู่มือการท าวิจัยอย่างง่ายของครู กศน.
36