Page 49 - คู่มือกรทำวิจัยอย่างง่ายของครู กศน.
P. 49
เรื่องที่ 3 การลงมือปฏิบัติงานวิจัยอย่างง่ายและการเก็บข้อมูล
การลงมือปฏิบัติงานวิจัยอย่างง่าย
ขั้นตอนการปฏิบัติงานวิจัย หรือเรียกให้เข้าใจได้ง่าย ๆ ว่า ขั้นตอนการลงมือวิจัย หรือการลงมือ
ท าจริง เป็นขั้นตอนที่ไม่ยุ่งยากและซับซ้อนมากนัก เนื่องจากทุกอย่างได้เตรียมไว้เรียบร้อยแล้ว ในกระบวนการ
เรื่องที่ 2 ก่อนหน้านี้ และเนื่องจากการวิจัยอย่างง่าย มีเป้าหมายส าคัญอยู่ที่ การพัฒนาการจัดการเรียนรู้
ของครูผู้สอน ดังนั้น ลักษณะการวิจัยจึงเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการหรือการวิจัยเชิงทดลอง คือ การวิจัยควบคู่
ไปกับการปฏิบัติงานจริง หรือการทดลองในระหว่างการจัดการเรียนรู้จริง โดยมีครูผู้สอนเป็นทั้งผู้ผลิตงานวิจัย
และบริโภคงานวิจัย หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ในวงจรของการวิจัย คือ ครูผู้สอนเป็นนักวิจัยในชั้นเรียนซึ่ง
จะตั้งค าถามที่มีความหมายในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ แล้วจะวางแผนการปฏิบัติงานวิจัย หลังจากนั้น
ครูผู้วิจัยจะด าเนินการจัดการเรียนรู้ไปพร้อม ๆ กับการเก็บข้อมูลตามระบบที่วางแผนการวิจัยไว้ หลังจากนั้น
น าข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ สรุปผล น าผลการวิจัยที่ได้ไปใช้พัฒนาการจัดการเรียนการรู้ให้มีคุณภาพยิ่ง ๆ ขึ้น
ต่อไป
โดยปกติ การท าวิจัยแบบเป็นทางการเต็มรูปแบบ (Formal Research) ไม่ว่าจะเป็นการวิจัย
ทางการศึกษา การวิจัยเชิงวิชาการ หรือการวิจัยประเภทใดก็ตาม จะต้องวางแผนการวิจัยพร้อมทั้งท าปฏิทิน
ปฏิบัติงาน ซึ่งจะระบุวิธีการเก็บข้อมูล กิจกรรม เครื่องมือวิจัย ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง รวมถึง
การก าหนดหรือควบคุมตัวแปรต่าง ๆ ไว้อย่างครอบคลุมแล้ว สถาบันพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษา
ตามอัธยาศัยภาคเหนือ (2552 : 26) สรุปขั้นตอนการท าวิจัยอย่างง่ายได้ 2 ระยะใหญ่ ๆ คือ
1. ขั้นตอนการคิด ซึ่งประกอบไปด้วย
- คิดวัตถุประสงค์ที่ต้องการ
- เลือกวิธีวิเคราะห์ที่เหมาะสมมาใช้หาค าตอบตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ
- ข้อมูลที่จ าเป็นต้องน ามาใช้วิเคราะห์ตามวิธีที่เลือกไว้
2. ขั้นตอนการลงมือท าจริง ประกอบไปด้วย
- เก็บรวบรวมข้อมูลที่จ าเป็นต้องน ามาใช้ในการวิเคราะห์
- น าข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้มาวิเคราะห์ด้วยวิธีวิเคราะห์ที่เลือกไว้
- ได้ค าตอบตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ
คู่มือการท าวิจัยอย่างง่ายของครู กศน.
35