Page 51 - คู่มือกรทำวิจัยอย่างง่ายของครู กศน.
P. 51
สรุปได้ว่า กระบวนการปฏิบัติงานวิจัยอย่างง่าย หรือการลงมือท าวิจัยอย่างง่ายและการเก็บข้อมูลนี้
ขึ้นอยู่กับเครื่องมือเที่ครูผู้วิจัยเลือกใช้ ส่วนระยะเวลาเก็บข้อมูลส าหรับการวิจัยอย่างง่าย ไม่ควรจะมีระยะ
เวลานาน และเน้นย้ าว่าให้สามารถบูรณาการร่วมกับการจัดการเรียนรู้ได้ด้วย จากตัวอย่างปฏิทินการวิจัย
อย่างง่ายข้างต้น สามารถอธิบายขั้นตอนการเก็บข้อมูลได้ ดังนี้
1. วิธีการเก็บข้อมูลพื้นฐานผู้เรียน จากตัวอย่างได้ใช้เครื่องมือเก็บข้อมูลอยู่
2 ประเภท คือ แบบสอบถามและการสัมภาษณ์ และแหล่งข้อมูล คือ ผู้เรียนและ
ผู้ปกครอง ดังนั้น วิธีการเก็บข้อมูลอาจให้ทั้งผู้เรียนและผู้ปกครองกรอก
แบบสอบถามเอง แต่ครูผู้วิจัยต้องชี้แจงหรืออธิบายให้ผู้เรียนและผู้ปกครองเข้าใจ
และสามารถตอบแบบสอบถามตามความเป็นจริง และถูกต้องตามวัตถุประสงค์ได้
ซึ่งแบบสอบถามนี้ อาจเป็นแบบเลือกตอบโดยมีช่องให้ท าเครื่องหมาย หรือเป็น
แบบให้ตอบว่าใช่หรือไม่ใช่ หรืออาจเป็นแบบสอบถามแบบให้กรอกข้อความ ทั้งนี้
ขึ้นอยู่กับข้อมูลที่ครูผู้วิจัยต้องการ นอกจากนี้ ครูผู้วิจัยยังสามารถอธิบายค าถาม
ในแบบสอบถามเป็นข้อ ๆ ได้เช่นกัน ส่วนการสัมภาษณ์ ครูผู้วิจัยต้องสัมภาษณ์เอง
แต่จะใช้แบบสัมภาษณ์ชนิดมีโครงสร้าง หรือไม่มีโครงสร้างนั้น ก็ขึ้นอยู่กับ
การพิจารณาของครูผู้วิจัย ขณะสัมภาษณ์ครูผู้วิจัยอาจใช้เครื่องมืออื่น ๆ อีกก็ได้
เช่น เครื่องบันทึกเสียง รวมถึงแบบบันทึกภาคสนาม เพื่อความสะดวกและรวดเร็ว
ในการเก็บข้อมูล
2. การทดสอบความรู้ภาษาไทย ใช้เครื่องมือ คือ แบบทดสอบ
ซึ่งสามารถบูรณาการเข้ากับแผนการจัดการเรียนรู้และกระบวนการจัด
การเรียนรู้ได้ด้วย จากนั้นจึงบันทึกผลที่ได้
คู่มือการท าวิจัยอย่างง่ายของครู กศน.
37