Page 83 - การโฆษณาเเละส่งเสริมการขาย
P. 83
73
สาระน่ารู้
วงการกีฬากับสปอนเซอร์ในประเทศไทย มีขึ้นมานานแล้วยกตัวอย่าง เช่น ฟุตบอล
รายการต่าง ๆ อย่างโตโยต้า ไทยแลนด์ พรีเมียร์ลีก ยามาฮ่า ไทยแลนด์คัพ จนกระทั่งปัจจุบัน
เช่น แบดมินตัน สนับสนุนโดย ปูนซีเมนต์ไทย จูเนียร์ฟุตซอล โดย ควิก กอล์ฟ เช่น จอห์นนี้
วอล์กเกอร์ คลาสสิก เป็นต้น
ภาพที่ท าให้ Sponsorship วงการกีฬาชัดเจน เกิดขึ้นเมื่อครั้งที่มีการน าสโมสรฟุตบอล
จากต่างประเทศเข้ามาแข่งขัน แต่ก็ยังไม่ใช่ลักษณะ Title Sponsor หรือสปอนเซอร์รายเดี่ยวแต่
เป็นการให้สินค้าหลายแบรนด์สนับสนุนร่วมกัน
ความแตกต่างระหว่างการท า Sponsorship กีฬาในอดีตกับปัจจุบัน ต่างกันในเรื่องที่ใน
อดีตสปอนเซอร์ที่เข้ามาจะมองเป็นเรื่องของโฆษณามากกว่าเรื่องโปรโมท หรือประชาสัมพันธ์แบ
รนด์ เพราะรูปแบบยังไม่ชัดเจน ตอนหลัง ๆ เริ่มเปลี่ยนมีเรื่องแบรนด์มากขึ้นใน
ปัจจุบัน Sponsorship โดยเน้นกีฬานั้น ปัจจุบันไม่ใช่เรื่องท ากันได้ง่าย ๆ ปัจจัยส าคัญ
อยู่ที่ต้องเป็นกีฬาที่คนไทยสนใจ มีดาราหรือฮีโร่ระดับแม่เหล็กดึงดูดคนดูได้จริง ๆ
แบรนด์ที่ใช้ Sponsorship marketing มาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบันก็
เช่นสิงห์คอร์เปอเรชั่น เพราะมีการท าสปอนเซอร์ในหลายรูปแบบ เช่น สนับสนุนประเพณีการ
แข่งขันเรือยาวเจ้าแห่งสายน้ าตามภูมิภาคของไทย คอนเสิร์ตศิลปินในและต่างประเทศ และกีฬา
ฯลฯ
รูปแบบและเครื่องมือการส่งเสริมการขาย
การส่งเสริมการขายที่มุ่งสู่ผู้บริโภค (Consumer Promotion)
มีผู้ให้ค านิยามไว้หลากหลาย ดังนี้
สิฏฐากร ชูทรัพย์ และคณะ ให้นิยามไว้ว่า เป็นกิจกรรมส่งเสริมการขายที่ผู้ผลิตจัดท าขึ้น
เพื่อเป็นการจูงใจให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อได้เร็วขึ้น และเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของหน่วยงาน
ขายให้ขายสินค้าได้
วินัส อัศวสิทธิถาวร ให้นิยามไว้ว่า เป็นการส่งเสริมการขายที่มุ่งสู่ผู้บริโภคคนสุดท้ายซึ่ง
เป็นผู้ซื้อสินค้าไปเพื่อใช้สอยส่วนตัวหรือใช้ในครัวเรือน
สุดาทิพย์ ตันตินิกุลชัย และคณะ ให้นิยามไว้ว่า หมายถึง เครื่องมือที่ใช้กระตุ้นความสนใจ
ให้เกิดการตัดสินใจซื้อในระยะเวลาอันสั้น เช่น สะสมยอดซื้อ การสะสมแสตมป์ การลดราคา
การแข่งขัน ชิงโชค ฯลฯ