Page 9 - Top Executive Sharing
P. 9
7
ตอนนั้นคุณพัชรศรี ศรีเมือง มาอยู่แล้วก่อนที่ผมจะมาเป็นผู้อํานวยการ สนย. ก็เกิดเหตุการณ์ที่สําคัญ
มาเยอะมาก ท่านปลัดกระทรวงยุติธรรมตัดโอนผมจากพนักงานคุมประพฤติ 7 ให้มาเป็นเจ้าหน้าที่บริหารงาน
ทั่วไป 7 ในตําแหน่งจ่าศาลปากพนัง ตัวอยู่ที่อําเภอปากพนังแต่ปฏิบัติหน้าที่สํานักงานปลัด กระทรวงยุติธรรม
ตัวไม่ได้ไป ปีถัดมามีการแยกจังหวัดอํานาจเจริญออกจากจังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานีเมื่อแยก
จังหวัดก็เกิด 3 จังหวัด ในส่วนที่อําเภอปากพนังแยกมาเป็น 3 สาขาเป็นระดับ 7 ในตัวจังหวัดเป็นเจ้าหน้าที่
บริหารงานทั่วไป 8 ก็ขยับผมเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป 7 มาเป็นเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป 8 ผมมาเร็วตรงนี้
ผมมาเป็นระดับ 7 ที่กรมคุมประพฤติก่อนหน้าหลายปี มาอยู่ที่กระทรวงยุติธรรมเป็นระดับ 8 อยู่ที่จังหวัด
อุบลราชธานีได้ไม่กี่เดือนก็มีคําสั่งให้ผมมาเป็นผู้อํานวยการกองโยบายและแผน ภายใน 24 ชั่วโมง
โดยรองปลัดกระทรวงยุติธรรมชื่อท่านวรนาฎ เดินมาจับมือผมแล้วบอกว่า “กุ๊กไก่พี่แสดงความยินดีด้วย
เดี๋ยวสี่โมงก็รู้เอง” คําสั่งให้เป็นผู้อํานวยการกองนโยบายและแผนภายใน 24 ชั่วโมง และให้ผู้อํานวยการ
สํานักนโยบายท่านเก่าไปอยู่ที่จังหวัดอุบลราชธานีแต่ตัวไม่ต้องไปเพราะท่านเป็นผู้หญิง ท่านเป็นคนเก่งชื่อท่านรุ่งทิพย์
ท่านทํางานเก่งมากโดยรู้จักรักกันดี และให้ท่านรุ่งทิพย์ไปรักษาการเป็นผู้อํานวยการสํานักงานสถานพินิจกลาง
สิ่งที่เกิดขึ้นกับผมคือคนในกองนโยบายและแผนก็ตั้งข้อรังเกียจผมเลย เพราะคิดว่าผมเป็นเด็กของผู้ใหญ่
มารังแกผู้อํานวยการเขา ทุกคนขอย้ายหมดเลยขอย้ายหมดกองเลยไม่เหลือแม้แต่คนเดียว อีกเหตุการณ์หนึ่ง
คือย้ายสถานที่ทํางานจากสนามหลวงมายังถนนถนนรัชดาภิเษก ทั้งนี้ ในส่วนของผมการยอมรับของคนในกอง
ก็ไม่ค่อยมี ผมก็เจอเกิดวิกฤตที่มติ ครม. ให้กําหนดรอบในการทํางาน 3 รอบ ประกอบด้วยเวลา 07.30 น.
08.30 น. และ 09.30 น. เพื่อแก้ไขปัญหารถติด ส่วนเจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูลมาทํางานในเวลา 7.30 น.
เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผนมาทํางานในเวลา 9.30 น. และมีเจ้าหน้าที่อีกจํานวนหนึ่งก็ทํางานในเวลา
8.30 น. ในสมัยก่อนการจัดทําบันทึกข้อความจะต้องร่างด้วยกระดาษส่งให้เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูลพิมพ์
พอในช่วงบ่ายในเวลา 15.30 น. เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูลถึงเวลากลับบ้านไปแล้วเพราะเจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล
มาปฏิบัติงานในเวลา 7.30 น. ส่วนเจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผนเดินทางมาปฏิบัติงานเวลา 9.30 น.
ส่งผลให้งานก็ไม่ไปด้วยกันได้ ตอนนั้นผมต้องเรียกประชุมฉุกเฉินเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยมองถึงงาน
เป็นตัวตั้ง ก็มีหลายคนประชุมแพ้โหวตไม่ยอมร้องไห้ โดยกําหนดเวลาทํางานเป็นเวลา 8.30 น. และสายได้
ไม่เกิน 15 นาที
พอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมเปลี่ยนมาเป็นท่านสุทัศน์ เงินหมื่น เป็นช่วงที่มีวิกฤตเศรษฐกิจ
ใหญ่มากช่วงปี 2540 ได้มีโครงการเงินมิยาซาว่า ซึ่งในตอนนั้นท่านรัฐมนตรีต้องการให้กระทรวงยุติธรรม
เข้าไปร่วมดําเนินในโครงการเงินมิยาซาว่า จํานวน 2,000 ล้านบาท ท่านต้องการให้กระทรวงยุติธรรม
เขียนโครงการผมต้องเขียนโครงการภายใต้ไม่มีใครให้ความร่วมมือ โชคดีที่ผมทําคอมพิวเตอร์เป็นทําอะไรได้
อีกทั้ง ผมมีทีมงานสํานักงานพัฒนาระบบศาลคอยช่วยและสนับสนุนอยู่ เมื่อถึงปี 2543 ดําเนินการแยกศาล
และแยกกระทรวงยุติธรรม และการจัดทําแนวทางการลดปริมาณคดีขึ้นสู่ศาล ก็เป็นอีกภารกิจหนึ่งก่อนการ
แยกศาลกับกระทรวงยุติธรรม ซึ่งผมดําเนินการภายใต้กลุ่มของ สนย. ที่จัดตั้งขึ้นมา โดยทีมงานของผม
มีคนดําเนินการจํานวน 11 คน จํานวนคนที่น้อยแต่ทํางานใหญ่มาก ทั้งนี้ต้องต่อสู้กับศาลเยอะมาก
เพราะมีหลายเรื่องที่ไปขัดกับนโยบายของศาล เช่น การชะลอฟูองและการรับสารภาพ ให้ศาลเด็กและเยาวชน
เป็นศาลชํานัญพิเศษ มาตรการคุมประพฤติลงโทษปรับ สิ่งนี้เป็นธงแรกที่ใช้ในการปฏิรูป
ที่ผมทําได้ไม่ใช่ว่าผมกินหัวใจเสืออย่างไร แต่จากที่ผมได้ให้ทีมงานไปศึกษาและเก็บข้อมูล
โดยให้เจ้าหน้าที่ของ สนย. ไปนั่งเก็บข้อมูลที่สํานักงานอัยการสูงสุด ในตอนนั้น ดร.กิตติพงษ์ กิตยารักษ์
เพิ่งสําเร็จการศึกษาจากต่างประเทศมา และมาดํารงตําแหน่งเป็นผู้อํานวยการสถาบันกฎหมายอาญา
ของสํานักงานอัยการสูงสุด ก็มีการทําเรื่องยุติธรรมเชิงสมานฉันท์, ยุติธรรมชุมชน เยอะแยะไปหมด เรื่องอะไร
ก็ให้เจ้าหน้าที่ไปก็ถอดบทเรียนมาเล่าให้ฟัง ทําจนมีมติ ครม. ในปี 2544 ซึ่งความจริงเราทํามาก่อนตั้งแต่ ปี 2543