Page 115 - เอกสารประกอบการสอน pdf
P. 115
บทที่ 6 การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนตามความสนใจพิเศษ 104
6.2.2 แหล่งท่องเที่ยวแบบเนิบช้า
หลายจังหวัดในประเทศไทยมีคุณลักษณะเหมาะสมกับการเป็นแหล่งท่องเที่ยวแบบเนิบช้า
ั
Suraphee and Pimonsompong (2017) ได้ศึกษาเรื่องการพฒนาแหล่งท่องเที่ยวแบบเนิบช้าในเอเชีย
ตะวันออกเฉียงใต้ กรณีศึกษาเมืองน่าน ประเทศไทย และเมืองหลวงพระบาง ประเทศ สปป. ลาว พบว่า
คุณลักษณะที่ท าให้จังหวัดน่านเป็นแหล่งท่องเที่ยวแบบเนิบช้า กล่าวคือ เมืองน่านเป็นเมืองที่มีบรรยากาศ
ของความเป็น “เมืองเก่าที่มีชีวิต” (Old City Life) ศิลปวัฒนธรรม และสภาพภูมิทัศน์ยังคงความเดิมแท้
ี
ควบคู่กับการถูกใช้งานจริง มิใช่เพยงเมืองเก่าที่มีแต่ซาก ปรักหักพงของโบราณสถานเฉกเช่นเมืองอน ๆ
ื่
ั
เมืองน่านได้รับอทธิพลจากความศรัทธาพทธศาสนา และความเชื่อที่ฝังรากลึกมายาวนานตั้งแต่ก่อร่าง
ุ
ิ
สร้างเมืองตามหลักฐานทาง ประวัติศาสตร์ มีการให้ความเคารพ และให้ความส าคัญแก่ผู้เฒ่าผู้แก่
บรรยากาศของเมืองยังมีเรื่องราวของอดีตที่รับรู้ได้ มีความร่วมมือในการจัดการแหล่งท่องเที่ยวจากทั้ง
ภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนในฐานะเจ้าของพนที่ท าให้เมืองมีบรรยากาศที่ดี มีสีสัน มีอรรถรสจาก
ื้
การเล่าเรื่องในอดีต คนน่านมีวิถีชีวิตเรียบง่าย ใช้ชีวิตกลมกลืนไปกับวงจรธรรมชาติ มีความเป็นอยู่แบบ
ถ้อยทีถ้อยอาศัย หยิบยื่นความเป็นมิตรไมตรีให้แก่นักท่องเที่ยว มีความภาคภูมิใจ และเห็นคุณค่าของ
เอกลักษณ์ทางศิลปวัฒนธรรมและธรรมชาติของเมือง ในขณะเดียวกันก็มีกิจกรรมให้นักท่องเที่ยวได้มี
ส่วนร่วม อาทิ กิจกรรมเที่ยวชมวัด อาคาร บ้านเรือน และวังเก่า ในตัวเมืองน่าน พดคุยกับคนในชุมชน
ู
โดยการไปดื่มกาแฟในร้านค้าท้องถิ่น เข้าร่วม กิจกรรมศาสนพธี หรือเดินชมวิถียามเช้าบนท้องนา
ิ
ใกล้ชุมชนต่าง ๆ เสริมสุขภาพและความงามด้วยการล้างพษ โดยใช้สมุนไพรท้องถิ่น หรือการนวดผ่อนคลาย
ิ
เป็นต้น กิจกรรมการท่องเที่ยวแบบเนิบช้าส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับเอกลักษณ์ของแหล่งท่องเที่ยว การด าเนิน
ชีวิตของชุมชน และการมีปฏิสัมพันธ์แบบไมตรีจิตระหว่างนักท่องเที่ยวกับคนในท้องถิ่น
นอกจากนี้ งานวิจัยดังกล่าว ยังให้แนวทางในการพจารณาถึงคุณลักษณะของเมืองหรือสถานที่
ิ
ที่พัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวแบบเนิบช้าไว้ว่า ควรคุณลักษณะดังต่อไปนี้
แหล่งท่องเที่ยวแบบเนิบช้า (Slow Tourism Destination) หมายถึง จุดหมายปลายทาง
ื่
การท่องเที่ยวที่สามารถให้เวลาแก่นักท่องเที่ยวในการเข้าไปมีส่วนร่วมในการท ากิจกรรมต่าง ๆ เพอ
แสวงหาความผ่อนคลาย ขจัดความตึงเครียดที่ได้รับจากชีวิตประจ าวัน มีความสุข ความเพลิดเพลิน และ
ดื่มด่ ากับวัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต ประวัติศาสตร์ ธรรมชาติ มีองค์ประกอบที่ส าคัญ คือ
1) การด าเนินชีวตของประชาชนเป็นแบบเรียบง่าย (Rustic) หมายถึง แหล่งท่องเที่ยวที่มี
ิ
ประชาชนในท้องถิ่นมีการเดินทางที่ไม่เร่งรีบ แต่รักษาเวลา (Slow Life) มีการรักษาความเงียบสงบ
ไม่ท าลายทรัพยากรธรรมชาติ มีการใช้ชีวิตและการท ากิจกรรมที่ผ่อนคลายจากการท างาน สร้างความ
สนุกสนาน รื่นเริง และความสุขจากสิ่งรอบตัว
2) การสะท้อนความรู้สึกความภาคภูมใจของผู้อยู่อาศัย (Ecstasy) หมายถึง ประชาชน
ิ
ในท้องถิ่นมีจิตส านึก หวงแหน และรักษาคุณค่าของมรดกทางประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรมที่สืบทอดกัน
มาจากอดีตให้คงอยู่ น าเอกลักษณ์ของเมืองมาใช้ในวิถีชีวิต เช่น การสวมใส่ผ้าพื้นเมืองที่ท าจากวัสดุท้องถิ่น
การใช้วัตถุดิบในท้องถิ่นที่มีตามฤดูกาล การใช้ภาษาท้องถิ่นในการเขียนและสื่อสาร เป็นต้น
ิ
3) การรักษาความเดิมแท้ของศิลปวฒนธรรม และสภาพภูมทัศน์ (Classic) หมายถึง
ั
การผสมผสานความทันสมัยจากการเปลี่ยนแปลงของโลกให้เข้ากับรูปแบบ คุณค่า และความดั้งเดิมของ
ความเป็นอยู่ เช่น วิถีการท าเกษตร การก่อสร้างอาคารบ้านเรือนที่ยังคงสถาปัตยกรรมรูปแบบเดิม การดูแล
สุนทรียภาพ ทัศนียภาพให้สวยงามเข้ากับสภาพพื้นที่เดิม เป็นต้น