Page 110 - เอกสารประกอบการสอน pdf
P. 110
บทที่ 6 การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนตามความสนใจพิเศษ 99
ที่ได้รับความนิยม คือ ศัลยกรรมด้านกระดูก ผ่าตัดหัวใจ และความงาม ทันตกรรม การตรวจสุขภาพ และ
โรคทางเดินอาหาร เป็นต้น
ทรัพยากรการท่องเที่ยวเชิงการแพทย ์
แหล่งท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ หรือสถานที่ท่องเที่ยวด้านการแพทย์ ประกอบด้วยองค์ประกอบของ
ผลิตภัณฑ์ที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้ จับต้องได้ (Tangible Product) หมายถึง สถานที่ต่างๆ เช่น
โรงพยาบาล คลินิก บริการด้านสุขภาพ ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพ ศูนย์บ าบัดล้างไต หรือสถานที่ทางภูมิศาสตร์
เช่น ชายหาด ภูเขา เป็นต้น สถานที่ทางประวัติศาสตร์ และสถานที่ท่องเที่ยว ผลิตภัณฑ์จับต้องไม่ได้
(Intangible Product) รวมถึงวัฒนธรรม ประเพณี และประวัติศาสตร์ นักท่องเที่ยวเชิงการแพทย์เลือก
จุดหมายปลายทางในการหาสิ่งที่ตอบโจทย์ด้านสุขภาพ ควบคู่ไปกับคุณสมบัติที่จับต้องได้ หรือ
่
ั
แหล่งท่องเที่ยว ซึ่งเป็นลักษณะที่แตกต่างจากที่นักทองเที่ยวสามารถสัมผัสได้จากที่พกอาศัยปกติ (Center
for Health Tourism Strategy)
จากข้างต้น สถานบริการเชิงการแพทย์ จะมีการน าเสนอกิจกรรมการบริการทางสุขภาพร่วม
อยู่ด้วย ซึ่งกิจกรรมเหล่านั้นมีความหลากหลาย องค์การค้าโลก (WTO) จึงได้แบ่งกิจกรรมการบริการ
เกี่ยวกับสุขภาพมนุษย์ออกเป็น โรงพยาบาล (Hospital Services) คือ บริการทางการแพทย์และ
การรักษาพยาบาล ภายใต้การก ากับดูแลของแพทย์ให้แก่ผู้ป่วยเป็นหลัก ประกอบด้วย บริการการแพทย์
ผู้ช่วยแพทย์ พยาบาล ห้องทดลอง และบริการทางเทคนิคต่าง ๆ รวมถึง รังสีวิทยาและวิสัญญี ฯลฯ
ซึ่งมีการให้บริการทางการแพทย์ โดยอยู่ภายใต้การก ากับดูแลของแพทย์ (ไม่รวมถึงบริการที่ให้แก่คลินิก
ผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาล) และทันตแพทย์ (Medical and Dental Services) บริการที่มุ่งให้การป้องกัน
การตรวจวินิจฉัย และรักษาอาการเจ็บป่วย ผ่านการให้ค าปรึกษาแก่คนไข้เป็นราย ๆ ไป แบ่งย่อยเป็น
แพทย์ทั่วไป (General Medical Services) แพทย์เฉพาะทาง (Specialized Medical Services)
ื่
ทันตกรรม (Dental Services) สุดท้ายคือบริการอน ๆ ที่เกี่ยวกับสุขภาพมนุษย์ (Other Human Health
Services) ประกอบด้วย บริการด้านการผดุงครรภ์ พยาบาล กายภาพบ าบัด และเจ้าหน้าที่ ผู้ช่วยแพทย์
(Deliveries and related services, nursing services, nursing services, physiotherapeutic and
para-medical services) บริการรถพยาบาล (Ambulance services) สถานพยาบาลแบบมีที่พก ซึ่งไม่ใช่
ั
ื่
โรงพยาบาล (Residential health facilities services other than hospital services) บริการอน ๆ
ที่เกี่ยวกับสุขภาพมนุษย์ (Other human health services n.e.c.) อาทิ พยาธิวิทยา วิทยาแบคทีเรีย
ไวรัสวิทยา ภูมิคุ้มกัน วิทยา รวมถึง บริการจัดเก็บโลหิต เป็นต้น
ศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงส่งเสริมสุขภาพ
การท่องเที่ยวเชิงส่งเสริมสุขภาพ หรือ Wellness Tourism เป็นรูปแบบการท่องเที่ยวหนึ่งของ
การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Health Tourism) Muller and Kaufmann (2000) อธิบายให้เห็นถึงความ
แตกต่างระหว่างการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Health Tourism) และการท่องเที่ยวเชิงส่งเสริมสุขภาพ
้
(Wellness Tourism) ว่า Wellness Tourism เป็นส่วนหนึ่งของ Health Tourism โดยอางถึง Dunne
(1959) ที่ให้ความหมายของ “Wellness” ว่าเป็นการดูแลสุขภาพองค์รวมให้เกิดความอยู่ดีมีสุข ซึ่งมิได้
หมายถึงแต่เพียงร่างกาย หากแต่หมายรวมถึงจิตใจและจิตวิญญาณด้วย ดังนั้น เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
รูปแบบการด าเนินชีวิตและความรับผิดชอบต่อสุขภาพตนเองจึงเป็นสิ่งส าคัญที่สุด ผลงานของ Dunne
ถือว่าเป็นงานวิชาการรุ่นแรก ๆ ที่ถูกน ามาอางองในการศึกษาถึง Wellness Tourism ในปี ค.ศ. 1961
้
ิ
Dunne ได้ให้ความหมายของค าว่า Wellness ที่มีนัยยะว่าการจะมีสุขภาพดีได้นั้นต้องเริ่มมาจาก