Page 114 - เอกสารประกอบการสอน pdf
P. 114
บทที่ 6 การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนตามความสนใจพิเศษ 103
ของประสบการณ์ที่ได้รับจากการท่องเที่ยวและพบปะผู้คนในท้องถิ่นและสถานที่ใหม่ ด้วยการสัมผัสทั้ง
ี
5 ประสาท แทนที่จะสัมผัสด้วยการมองเห็นเพยงอย่างเดียว” Slow Tourism จึงเป็นการท่องเที่ยวที่เน้น
ื่
การให้เวลากับสถานที่ท่องเที่ยวแห่งหนึ่งๆให้มากขึ้น เพอจะได้มองเห็นสิ่งสวยงามของสิ่งใกล้ตัวมากขึ้น
นอกจากนี้ งานวิจัยดังกล่าว ยังได้พัฒนาต้นแบบของการท่องเที่ยวที่ไร้ความเร่งรีบไว้ดังแผนภาพต่อไปนี้
ภาพที่ 6.2 ต้นแบบการท่องเที่ยวที่ไร้ความเร่งรีบ
ที่มา: ราณี อิสิชัยกุล (2554)
ั
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ได้สร้างชุดประชาสัมพนธ์การท่องเที่ยวแบบเนิบช้าชื่อ
“เที่ยวทีละก้าว Slow Travel” ในปี พ.ศ. 2553 น าเสนอเรื่องราวของการเที่ยวแบบเนิบช้าในภาคเหนือ
ในแหล่งท่องเที่ยวและรูปแบบที่หลากหลาย แต่ก็ไม่ได้รับความนิยมอย่างที่คาดไว้ สาเหตุหนึ่งมาจากการที่
Slow Tourism ยังไม่เป็นที่รู้จักของคนไทยมากนัก นอกจากนี้สิ่งที่ท าให้ Slow travel ยังไม่เป็นที่นิยมของ
คนไทยในช่วงเวลานั้น ก็เนื่องมาจากความแตกต่างระหว่างวิถีชีวิต การท างาน และวิถีการท่องเที่ยวของ
ชาวไทยและชาวต่างชาติ โดยปัจจัยแรกก็คือระยะเวลาของการเดินทางท่องเที่ยว ที่เห็นได้ชัดเจนก็คือ
ต่างชาตินั้นมีช่วงเวลาในการท่องเที่ยวในแต่ละครั้งนานกว่าคนไทย ตั้งแต่หนึ่งสัปดาห์จนถึงกับหลาย ๆ
เดือน แต่ส าหรับนักท่องเที่ยวไทยทั่ว ๆ ไป มีวันหยุดเพยงสั้น ๆ และงบประมาณที่จ ากัด อกปัจจัยหนึ่ง
ี
ี
ที่ท าให้ Slow Travel ยังไม่ได้รับการตอบรับอย่างกว้างขวางจากนักท่องเที่ยวชาวไทย ก็คือการเลือกที่จะ
เรียนรู้และความสนใจในวิถีชีวิตแบบท้องถิ่น บ่อยครั้งที่เราจะเห็นนักท่องเที่ยวชาวต่างชาตินั่งรับประทาน
อาหารริมถนน วิถีชีวิตธรรมดาของคนไทย แต่กลับเป็นที่ตื่นตาตื่นใจส าหรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ
หากแต่ส าหรับคนไทยโดยส่วนใหญ่ ความตื่นเต้นจากการท่องเที่ยวจะมาความแปลกใหม่ของสถานที่
มากกว่าวิถีชีวิตปกติของคนท้องถิ่น ดังนั้น ด้วยเงื่อนไขด้านความสนใจ เวลา และงบประมาณจึงท าการ
เดินทางท่องเที่ยวแบบเนิบช้า ยังไม่เป็นที่นิยมในหมู่คนไทยมากนัก