Page 108 - เอกสารประกอบการสอน pdf
P. 108

บทที่ 6 การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนตามความสนใจพิเศษ    97




                            6.1.3 ทรัพยากรการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
                                                                              ิ
                             คุณภาพของทรัพยากรการท่องเที่ยวเป็นหนึ่งในปัจจัยที่มีอทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกจุดหมาย
                     ปลายทางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเป็นรูปแบบ
                     การท่องเที่ยวที่มีวัตถุประสงค์เฉพาะ เพอการรักษาหรือดูแลสุขภาพ ฉะนั้นทรัพยากรการท่องเที่ยว
                                                         ื่
                                                ื้
                     เชิงสุขภาพ ถึงแม้จะตั้งอยู่บนพนฐานของทรัพยากรการท่องเที่ยวทั่วไป (ทั้งธรรมชาติ วัฒนธรรม และ
                     เทคโนโลยีที่มนุษย์พฒนาขึ้น) หากแต่มีการบริหารจัดการทรัพยากรที่มีการปรับปรุง ดัดแปลงหรือน าเสนอ
                                      ั
                     แนวคิด และกิจกรรมขึ้นใหม่ เพอตอบสนองความต้องการหรือจุดมุ่งหมายของการรักษาหรือเพอส่งเสริม
                                                                                                     ื่
                                                ื่
                     สุขภาพโดยเฉพาะ
                             ตาราง 6.1 แสดงความสัมพนธ์ของแรงจูงใจทางการท่องเที่ยวทั่วไป และทรัพยากรการท่องเที่ยว
                                                    ั
                     ที่เกิดจากความต้องการตอบสนองวัตถุประสงค์การเดินทางท่องเที่ยวเพอสุขภาพ จนกลายเป็นประเภท
                                                                                  ื่
                     ทรัพยากรการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ดังนี้

                     ตาราง 6.1 แสดงความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจด้านการท่องเที่ยวและทรัพยากรการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ

                             แรงจูงใจของนักท่องเที่ยว                ทรัพยากรการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
                       การแพทย์และศัลยกรรมตกแต่ง           ทรัพยากรที่มนุษย์สร้างขึ้น (สถานบริการเชิงการแพทย์)
                       การผ่อนคลายความเมื่อยล้าทางกาย      ทรัพยากรตามวัตถุประสงค์เฉพาะ (วิ่งมาราธอน,
                                                           ปั่นจักรยาน, การเดินป่า, กิจกรรมกึ่งผจญภัย)

                           ั
                       การพกผ่อนหย่อนใจและการหลีกหนี       ทรัพยากรธรรมชาติ (แหล่งบ าบัดทางกายเชิงธรรมชาติ
                       ความจ าเจ                           เช่น บ่อน้ าพุร้อน, บ่อหรือแหล่งโคลนพอก, ธารน้ าแร่)
                       เน้นการหาความสนุกสนานและแสวงหา      ทรัพยากรที่มนุษย์สร้างขึ้น (วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต)

                       ประสบการณ์ใหม่
                       การฝึกฝนตัวตนและกิจกรรมเชิงจิตวิทยา  ทรัพยากรที่มนุษย์สร้างขึ้น (ภูมิปัญญา, ความเชื่อ,
                                                           สถานบริการ หรือศูนย์บ าบัดด้วยพลังจิต)
                       เน้นการพัฒนาตัวตนภายในหรือ          ทรัพยากรที่มนุษย์สร้างขึ้น (ศูนย์ปฏิบัติธรรมหรือวัด,

                       จิตวิญญาณ                           ศูนย์ฝึกสมาธิ, กิจกรรมการจาริกแสวงบุญ)
                       การให้ความสนใจชุมชน                 ทรัพยากรตามวัตถุประสงค์เฉพาะ (กิจกรรมจิตอาสา,
                                                           กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ, แหล่งอาหาร ผัก ปลอดสาร)


                     ที่มา: ประยุกต์จาก Smith and Kelly (2006)

                                                                                       ื้
                             จากตาราง 6.1 ทรัพยากรการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพมีลักษณะพนฐานเหมือนทรัพยากร
                     การท่องเที่ยวทั่วไป หากแต่มีการด าเนินการจัดการเพอตอบสนองความต้องการ ความพงพอใจ หรือ
                                                                    ื่
                                                                                                  ึ
                     จุดมุ่งหมายเชิงสุขภาพของนักท่องเที่ยว
                             ทรัพยากรการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพโดยทั่วไป จึงสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ตามนิยามของ

                     การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ กล่าวคือ ทรัพยากรการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ (Medical Tourism) และ
                     ทรัพยากรการท่องเที่ยวเชิงส่งเสริมสุขภาพ (Wellness Tourism) ดังนี้
                            1) ทรัพยากรการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ หมายถึง ทรัพยากรหรือกิจกรรมเชิงการดูแลรักษา
                     ที่เน้นการใช้เทคโนโลยี เครื่องมือ อุปกรณ์และบุคลากรเชิงการแพทย์เป็นหลัก ได้แก  ่
   103   104   105   106   107   108   109   110   111   112   113