Page 31 - เอกสารประกอบการสอน pdf
P. 31
บทที่ 1 กระบวนทัศน์ของการพัฒนาอย่างยั่งยืน 20
จุดหมายปลายทางของการพัฒนาที่ยั่งยืน
ั
คือ การพฒนาที่ท าให้เกิดดุลยภาพของเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ั
เพอการอยู่ดีมีสุขของประชาชนชนตลอดไป เศรษฐกิจที่ท าให้เกิดดุลยภายของการพฒนาคือเศรษฐกิจ
ื่
ึ่
ี
ที่มีรากฐานมั่นคง มีขีดความสามารถในการแข่งขัน และสามารถพงตนเองได้ โดยมีเศรษฐกิจพอเพยง
ตามแนวพระราชด าริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นแนวคิดหลักสังคม ให้หมายรวมถึง วัฒนธรรม
และภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งเป็นระเบียบวิถีชีวิตของสังคมที่ให้มนุษย์ปรับตัวและด ารงชีวิตอยู่กับสิ่งแวดล้อม
ของท้องถิ่นได้โดยไม่ท าลายสิ่งแวดล้อม และให้รวมถึงศาสนธรรมซึ่งเป็นระเบียบจิตใจของคนในสังคม
ที่ท าให้สังคมอยู่ได้โดยสงบสุข ทรัพยากรธรรมชาติ หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวมนุษย์ทั้งที่มีชีวิต
และไม่มีชีวิต เกี่ยวโยงสัมพนธ์กันเป็นระบบนิเวศน์ ที่สามารถให้คุณและให้โทษต่อมนุษย์ได้ ขึ้นกับความ
ั
สมดุลหรือไม่สมดุลของระบบนิเวศ
สิ่งแวดล้อม หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวมนุษย์ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต เกี่ยวโยงสัมพันธ์กัน
เป็นระบบนิเวศน์ ที่สามารถให้คุณและให้โทษต่อมนุษย์ได้ ขึ้นกับความสมดุลหรือไม่สมดุลของระบบนิเวศ
ความสมดุลและเชื่อมโยงระหว่างเศรษฐกิจสังคม ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมกับจุดหมาย
การพัฒนาที่ท าให้ประชาชนอยู่ดีมีสุข
ดัชนีชี้วัดการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย
การพัฒนาดังกล่าวมีเป้าประสงค์ของการพัฒนา 4 ประการ ดังนี้
1) คุณภาพ: สังคมไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นเป็นสังคมฐานความรู้มีการพฒนาศักยภาพ และ
ั
การศึกษาได้ด้วยตนเอง
2) เสถียรภาพและการปรับตัว: เศรษฐกิจเกิดการขยายตัวอย่างมีเสถียรภาพทั้งระดับภายใน และ
ภายนอกประเทศ
ื้
ั
3) การกระจายการพฒนาอย่างเป็นธรรม: ประชากรมีความเท่าเทียมความต้องการพนฐานในการ
ด ารงชีพ และบริการพื้นฐานทางสังคม
4) การมีระบบบริหารจัดการที่ดี: ประชากรทุกภาคส่วนของสังคมมีโอกาส และสิทธิในการรับรู้
ข้อมูลข่าวสาร
องค์ประกอบดัชนี / ตัวชี้วัด
1. มิติเศรษฐกิจ การพัฒนาอย่างมีคุณภาพ การพัฒนาอย่างมีเสถียรภาพ การกระจายความมั่งคั่ง
2. มิติสังคม
- การพัฒนาศักยภาพ และการปรับตัวบนสังคมฐานความรู้
- การพัฒนาคุณภาพชีวิต และความมั่นคงในการดารงชีวิต
- การพัฒนาให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง และมีภูมิคุ้มกันด้านวัฒนธรรม
- การสร้างความเสมอภาค และการมีส่วนร่วม
3. มิติสิ่งแวดล้อม
- สงวนรักษา
- การมีคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ดี
- การมีส่วนร่วม และการกระจายการใช้ทรัพยากร
- การร่วมรับผิดชอบต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมในฐานะภาคีโลก