Page 294 - Bright Spot 2562
P. 294
282
282
โรงพยาบาลชุมชนแห่งความสุข
โรงพยาบาลชานุมาน อำาเภอชานุมาน จังหวัดอำานาจเจริญ เป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาด 30 เตียง
วิสัยทัศน์ คือ บริการดี มีมาตรฐาน เชี่ยวชาญงานชุมชน และมีพันธกิจหลัก 4 ประการ ได้แก่ 1) พัฒนา
บุคลากรทุกระดับสู่ความเป็นมืออาชีพ และสามารถปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างมีความสุข 2)
พัฒนาระบบบริการสุขภาพให้มีคุณภาพมาตรฐานสร้างสรรค์นวัตกรรมและวิจัย 3) พัฒนาการมีส่วนร่วม
ของภาคีเครือข่ายในการดูแลสุขภาพของประชาชนให้สามารถพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน และ 4) พัฒนา
ระบบบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลและพอเพียง
มีบุคลากรทั้งหมดจำานวน 133 คน เป็นเพศชาย 42 คน เป็นเพศหญิง 91 คน ส่วนใหญ่เป็น
ข้าราชการ ร้อยละ 48 ของบุคลากรทั้งหมด รองลงมาร้อยละ 18 เป็นพนักงานกระทรวงสาธารณสุข โดย
มีวัฒนธรรมองค์กรร่วมกัน คือ ทักทายเมื่อพบหน้า ปิยวาจากับทุกคน ทำาตนให้เป็นประโยชน์ ไม่กล่าว
โทษเพื่อนร่วมงาน เส้นทางการดำาเนินงานสู่องค์กรสร้างสุข
โรงพยาบาลมีการดำาเนินงานเพื่อให้เป็นองค์กรสร้างสุขมาอย่างต่อเนื่อง โดยมีการนำาผลการ
ประเมินความสุขของบุคลากร (Happinometer) ที่กระทรวงสาธารณสุขสำารวจ มาใช้วิเคราะห์และเป็น
แนวทางในการจัดกิจกรรมสร้างสุขในองค์กร
จากผลการประเมินฯดังกล่าว พบว่า ความสุขในด้านต่างๆของบุคลากรในปี 2562 มีค่าเฉลี่ยความสุข
เพิ่มขึ้นจากปี 2560 แต่อย่างไรก็ตามมีความสุข 3 ด้านที่บุคลากรมีค่าเฉลี่ยความสุขน้อยทั้ง 2 ปี ได้แก่
ด้านสุขภาพเงินดี ด้านสุขภาพกายดี และด้านผ่อนคลายดี จึงเป็นที่มาของการจัดโครงการสร้างสุขให้
บุคลากรในองค์กร และเมื่อคนในองค์กรมีความสุข จะส่งผลให้สามารถดำาเนินกิจกรรมตามพันธกิจให้
บรรลุวิสัยทัศน์ที่ตั้งไว้อย่างมีคุณภาพ โดยมีโครงการที่จัดขึ้นเพื่อให้เกิดโรงพยาบาลชุมชนแห่งความสุข
ดังนี้
โครงการแรก คือ โครงการสอนทำาบัญชีรายรับรายจ่าย ซึ่งจากผลการสำารวจด้านสุขภาพเงินดี พบว่า
แม้ว่าบุคลากรส่วนใหญ่สามารถผ่อนชำาระหนี้ได้ตามกำาหนด ตรงเวลาเกือบทุกครั้ง แต่บุคลากรก็รู้สึก
ว่าการผ่อนชำาระหนี้ต่างๆเป็นภาระหนักมากถึงมากที่สุด มีเงินเหลือเก็บออมในแต่ละเดือนเพียงเล็กน้อย
ถึงน้อยที่สุด และมีรายจ่าย เกินกว่าค่าตอบแทนที่ได้รับทั้งหมดในแต่ละเดือน จึงทำาให้ นายแพทย์นพพล
ธาดากุล ผู้อำานวยการโรงพยาบาล จัดทำาคู่มือและสอนการทำาบัญชีรายรับรายจ่ายส่วนบุคคลหรือบัญชี
ครัวเรือนโดยการใช้โปรแกรมสำาเร็จรูป ผ่านทางไลน์กลุ่มเจ้าหน้าที่และการลงเยี่ยมกลุ่มงาน เพื่อสร้างให้
บุคลากรมีความรู้ความเข้าใจและเห็นประโยชน์ของการทำาบัญชีรายรับรายจ่าย ทราบสถานะทางการเงิน
ของตนเอง และสามารถวางแผนบริหารจัดการการเงินของตนเองและครอบครัวได้ การประเมินผลหลัง
การดำาเนินงานตามโครงการโดยใช้แบบสอบถาม พบว่า เจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่ร้อยละ 50 มีการทำาบัญชี
ครัวเรือนเป็นครั้งคราว แต่ร้อยละ 94 ยังไม่เคยเข้าใช้โปรแกรมสำาเร็จรูปที่ได้รับ ทั้งนี้ส่วนใหญ่ร้อยละ 59
จะทำาบัญชีครัวเรือนโดยวิธีการเขียนบันทึกมากกว่า ทั้งนี้จากข้อเสนอแนะของเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการทำา
บัญชีผ่านการใช้โปรแกรมสำาเร็จรูป