Page 295 - Bright Spot 2562
P. 295
283
283
พบว่ามีอุปสรรคในการใช้งาน คือ โปรแกรมเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด อีกทั้งโปรแกรมต้องใช้คอมพิวเตอร์
ในการบันทึก ทำาให้ไม่สะดวกในการใช้งาน แต่อย่างไรก็ตามโครงการนี้ก็ทำาให้เจ้าหน้าที่รู้จักวิธีการทำา
บัญชีรายรับรายจ่าย และไม่ว่าจะทำาบัญชีรายรับรายจ่ายในรูปแบบใด ก็จะเกิดประโยชน์แก่ผู้ที่ทำาบัญชี
รายจ่ายของครัวเรือน สามารถที่จะวางแผนการใช้เงินเป็น ทำาให้ภาระหนี้สินลดลงไปได้ในอนาคตต่อไป
ซึ่งโครงการนี้จะมีการปรับกลยุทธ์ในการดำาเนินงานต่อไป
โครงการที่ 2 โครงการประสานความร่วมมือสู่โรงพยาบาลปลอดบุหรี่ และการเลิกบุหรี่ในกลุ่ม
เจ้าหน้าที่ เนื่องจากโรงพยาบาลมีบุคลากรที่สูบบุหรี่/ใบจาก/ยาเส้น จำานวน 12 คน โดยสูบนานๆครั้ง 5
คน สูบบ่อยครั้ง 4 คน และสูบเป็นประจำา 3 คน จึงดำาเนินการโรงพยาบาลปลอดบุหรี่ โดยจัดเขตปลอด
บุหรี่ เพื่อคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ เสริมสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีในสถานที่ทำางาน และให้ทุกคนมี
ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เป็นตัวอย่างที่ดีแก่บุคลากร ครอบครัว และชุมชน โดยมีการแต่งตั้ง
คณะทำางานโรงพยาบาลชานุมานปลอดบุหรี่ ซึ่งมีหน้าที่ออกนโยบายเกี่ยวกับโรงพยาบาลปลอดบุหรี่ และ
ประกาศให้บุคลากรทุกคนทราบเป็นลายลักษณ์อักษร มีการทำาป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่ตามที่ต่างๆ
และมีการสื่อสารทำาความเข้าใจกับเจ้าหน้าที่ถึงแนวทางโรงพยาบาลปลอดบุหรี่ เพื่อให้บุคลากรทุกคนมี
ส่วนร่วมในการเฝ้าระวัง และ ป้องกันการบริโภคยาสูบในโรงพยาบาล เช่น ห้ามทุกคนสูบบุหรี่ในเขต
โรงพยาบาล ตักเตือนผู้ที่สูบบุหรี่ในเขตโรงพยาบาลและให้ดับบุหรี่ รวมทั้งให้บันทึกชื่อในแบบบันทึก
ข้อตกลง ไม่สูบบุหรี่ในเขตโรงพยาบาลและรายงานความเสี่ยง นอกจากนี้ผู้บริหารยังนำามากำาหนดเป็น
เกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกเจ้าหน้าที่ใหม่ โดยผู้ที่ไม่สูบบุหรี่จะได้รับการพิจารณาเป็นอันดับแรก อีกทั้ง
ยังสนับสนุนช่วยเหลือบุคลากรที่ต้องการเลิกบุหรี่ให้เข้าถึงบริการเลิกบุหรี่ได้ โดยมีเป้าหมายให้บุคลากร
ที่สูบบุหรี่ สามารถเลิกบุหรี่ได้ ที่ดำาเนินการโดยคณะทำางานคลินิกอดบุหรี่ ประกอบด้วยการประเมินการ
ติดนิโคติน คัดกรองสุภาพจิต และซึมเศร้า การตรวจสุขภาพ การรับเข้าบำาบัดและตกลงบริการ การให้
สุขศึกษารายบุคคล การทำาคู่มือของแต่ละคน การให้ยาอมชาดอกหญ้าขาว และนัดติดตามทุก 1, 3 และ
6 เดือน ซึ่งจากการดำาเนินงานตามโครงการทำาให้มีผู้ที่สามารถเลิกบุหรี่ได้จำานวน 6 คน จากบุคลากรที่
สูบบุหรี่/ใบจาก/ยาเส้นทั้งหมด 12 คน
โครงการที่ 3 โครงการยอดมนุษย์สุดฟิต โดยคณะกรรมการสร้างเสริมสุขภาพบุคลากร ซึ่งโครงการ
นี้ดำาเนินการอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2561 เนื่องมาจากผลการสำารวจข้อมูลด้านสุขภาพกายดี ที่พบว่า
มีบุคลากรที่มีค่า BMI เกินกว่าค่าปกติถึงร้อยละ 52 ในปี 2561 และเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 54 ในปี 2562
จากผลการสำารวจจำานวนวัน การออกกำาลังกายต่อสัปดาห์ของบุคลากร พบว่า ร้อยละ 68 ของบุคลากร
ทั้งหมดมีการออกกำาลังกายน้อยกว่า 3 วันต่อสัปดาห์ จึงจัดทำาโครงการนี้ขึ้น เพื่อค้นหาบุคคลต้นแบบใน
การดูแลสุขภาพตนเอง และเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับบุคลากร ที่สามารถควบคุม BMI ของตนเองได้ อีกทั้ง
เพื่อกระตุ้นและสร้างแรงจูงใจให้บุคลากรหันมาสนใจดูแลสุขภาพของตนเอง และสร้างแกนนำาด้านสุขภาพ
โดยในปี 2561 จะเป็นการแข่งขันลด BMI ในระดับบุคคล แต่ในปี 2562 ได้มีการปรับกลยุทธให้เป็นการ
แข่งขันลด BMI ในรูปแบบทีม เพื่อให้เกิดผลในวงกว้างขึ้น เป็นการใช้กลุ่มเพื่อน (Peer group) กระตุ้นให้
บุคลากรดูแลสุขภาพทั้งของตนเองและเพื่อนร่วมงาน